post

ว่าวไทยกับลมหายใจอันแผ่วเบา เสน่ห์การละเล่นที่แพ้ทางกาลเวลา

ว่าว การละเล่นที่มีมาช้านาน และไม่ได้มีแค่ในไทยเราเท่านั้น หลาย ๆ ประเทศในเอเชียก็มีวัฒนธรรมการเล่นว่าวเหมือนกับไทยเรา แต่สำหรับ “ว่าวไทย” นั้น เป็นกิจกรรมที่อยู่คู่ครอบครัวไทยเลยก็ว่าได้ ในสมัยก่อนในช่วงฤดูร้อนของทุกปีในตอนนั้นน่านฟ้าของไทย และบริเวณสนามหลวงจะเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยว่าวไทยนานาชนิด เราจะเห็นว่าวตัวเล็กตัวน้อยที่ลอยโต้ลมอยู่ตลอดเวลา และได้ยินเสียงเฮฮาจากเด็ก ๆ คุณพ่อและคุณลูกที่วิ่งเล่นให้ว่าวโต้ลมสู่ฟ้ากันอย่างครึกครื้นสนุกสนาน แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไป ดูเหมือนลมที่คอยโต้ว่าวไทยให้ลอยสู่ฟ้ากลับแผ่วเบาลง นั่นทำให้ลมหายใจของว่าวไทยก็ดูเหมือนจะริบหรี่ลงไปด้วยเช่นกัน

ว่าว คือ กีฬาไทยชนิดหนึ่ง

คนรุ่นใหม่อาจจะไม่ทราบว่า สิ่งที่เรียกว่าเป็นกีฬาไทยแท้ ๆ นั้นนอกจากมวยไทยแล้ว หมากรุกไทยแล้ว ก็ยังมีว่าวไทยอีกอย่างที่อยู่ในฐานะกีฬาพื้นบ้านไทย เพราะว่าวของแต่ละชาตินั้นจะมีเอกลักษณ์ในการสร้างสรรค์โครงสร้างตัวว่าวในแบบของตนเอง ซึ่งปักเป้า กับจุฬาก็ถือว่าเป็นตัวแทนว่าวไทยในการแสดงเอกลักษณ์ให้เห็นถึงความแตกต่างจากว่าวของชาติอื่น ๆ ในเอเชีย เมื่อสมัยก่อนว่าวไทยยังเป็นกีฬาที่มีการแข่งขันกัน และสถานที่แข่งขันที่ใช้กันนั้นก็คือสนามหลวง ไม่เพียงแต่จะแข่งกันในเรื่องของความสูงในการเล่นว่าว หรือดูว่าว่าวของใครลอยสูงที่สุดโต้ลมได้นานที่สุดเท่านั้น แต่ยังมีการแข่งขันประกวดความสวยงาม และการออกแบบตัวว่าวอีกด้วย

แต่ในปี 2553 ทางการได้มีการประกาศปิดสนามหลวงเพื่อปรับปรุงพื้นที่ ซึ่งการปรับปรุงสนามหลวงครั้งนี้กินระยะเวลาเป็นปี ซึ่งแน่นอนว่ากระทบกับการแข่งกีฬาว่าวไทยเป็นอย่างมาก บวกกับปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ทั้งเรื่องของการเมืองความสงบของบ้านเมือง เหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย ส่งผลให้ว่าวไทยไม่ได้ไปต่อ การแข่งขัน การละเล่นต่าง ๆ ต้องงดไปโดยปริยาย และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของหายใจที่เริ่มแผ่วเบาของว่าวไทยในวันนี้

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีก็ทำให้ว่าวไทยวิกฤต

การที่โลกเปลี่ยนแปลงเร็วเพราะเทคโนโลยีเข้ามาแทรกแซง ทำให้อะไรที่ดูเป็นเรื่องเก่า ๆ ไม่ทันสมัยกลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกโละทิ้งให้เลือนหายไปในความทรงจำตามการเวลา และทุกสิ่งก็ต้องเป็นเช่นนั้นแบบไม่มีข้อยกเว้น ยกตัวอย่างง่าย ๆ ว่าวในฐานะกีฬาพื้นบ้านของไทย เมื่อไหร่ที่มีการจัดแข่ง ก็อาจจะมีการพนันขันต่อเล็ก ๆ ข้างสนาม เป็นการเดิมพันเพื่อความสนุกสนานไม่ได้หวังรวย แต่ปัจจุบันคนที่จะเล่นพนันกีฬาก็จะหันไปใช้บริการเว็บพนันออนไลน์ อย่างเว็บ VWIN ที่จัดเต็มเรื่องพนันกีฬาจากทั่วโลก จะพนันก็ง่าย แถมเรื่องจ่ายก็จริง นี่คือความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นในวันนี้ เวลาเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน ใจคนก็เปลี่ยน เราไม่สามารถบอกได้ว่า อะไรมันดีกว่ากัน และอะไรควรจะเป็นอย่างไร แต่ว่าวไทย ผิดอะไร ทำไมคนไทยถึงเริ่มที่เลือกจะทิ้งมันไว้ให้เหลือเพียงแค่ความทรงจำ

หากเป็นไปได้ ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง น่าจะจัดกิจกรรมอะไรสักอย่างเพื่อการส่งเสริมว่าวไทยในฐานะกีฬาพื้นบ้านของไทย เพื่อสร้างภาพจำใหม่ ๆ  ให้กับคนรุ่นหลัง ซึ่งสิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยต่อลมหายใจให้กับว่าวไทยไปได้อีกสักระยะหนึ่งทีเดียว

post

การประลองว่าว สังเวียนเดือดของคนเล่นว่าว

การเล่นว่าวคนเดียวถือเป็นกิจกรรมที่สร้างความเพลิดเพลิน แต่จะเป็นอย่างไรถ้าว่าวสองตัวหรือมากกว่านั้นจะต้องมาต่อสู้เพื่ออยู่รอด การแข่งขันเพื่อหาคนสุดท้ายที่บินอยู่บนฟ้าได้นี้เรียกว่า การประลองว่าว (Kite fighting)

การประลองว่าวคืออะไร

                การประลองว่าวคือการแข่งขันซึ่งผู้เล่นทั้งสองฝั่งต้องควบคุมให้ว่าวของตนองบินอยู่บนฟ้า ขณะเดียวกันก็ต้องตัดสายว่าวของฝั่งตรงข้ามให้ได้ การแข่งขันนี้เป็นที่นิยมในหลายประเทศ เช่น อัฟกานิสถาน อินเดีย เวียดนาม ไทย

                สายว่าวที่ใช้ในการแข่งขันนี้จะมีความคมมากกว่าปกติโดยวัสดุที่ใช้และวิธีการทำจะแตกต่างกันออกไป เช่น เชือกป่านที่ชุบด้วยเศษแก้วและกาวจากข้าว สายโลหะ หรือบางวัฒนธรรมก็ใช้การติดใบมีดคมที่ตัวว่าวแทน

กติกาการประลองว่าว

                กติกาการประลองว่าว แตกต่างกันไปตามพื้นที่ โดยผู้เล่นอาจมีได้ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แต่ส่วนใหญ่แล้วกติกาที่เหมือนกันคือต้องตัดสายว่าวของฝ่ายตรงข้ามให้ได้

                นอกจากนั้นบางประเทศมีหลักปฏิบัติที่ว่าหากว่าวที่ใช้ในการแข่งขันตัวใดถูกฝ่ายตรงข้ามตัดเชือกขาด เมื่อมันร่วงลงสู่พื้น ผู้ชมคนใดที่วิ่งไปเก็บว่าวตัวนั้นได้เป็นคนแรก ก็จะได้เป็นเจ้าของใหม่ของว่าวตัวนั้น

อันตรายของการประลองว่าว

                แต่การประลองว่าวไม่ได้มีแค่ความดุเด็ดเผ็ดมัน แต่มันยังมีอีกด้านที่ผู้สนใจจะเล่นต้องตระหนักและระแวดระวัง เนื่องจากในหลายประเทศเช่น ชิลี อินเดีย ปากีสถานมีรายงานว่าเคยมีคนได้รับบาดเจ็บจากส่วนคมของว่าวที่ใช้ในการประลองว่าว โดยมีตั้งแต่ถูกบาดที่นิ้วไปจนถึงเสียชีวิตเพราะเชือกที่คมกริบไปเกี่ยวกับคนที่กำลังขับรถจักรยานยนต์ในบริเวณแข่งขัน

ด้วยสาเหตุดังกล่าวทำให้บางประเทศถึงขนาดออกกฎห้ามไม่ให้ผู้เข้าแข่งขันใช้สายว่าวที่มีความคม บางแห่งก็จำกัดให้ใช้วัสดุได้แค่บางชนิดเท่านั้น และบางแห่งผู้เข้าแข่งขันจะต้องสวมอุปกรณ์ป้องกัน ส่วนรถที่แล่นไปมาในบริเวณแข่งขันก็ต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเพื่อความปลอดภัย

ตัวอย่างการประลองว่าว ในประเทศต่าง ๆ

                ญี่ปุ่น

                การประลองว่าว ของญี่ปุ่นมี 2 แบบ แบบแรกคือการตัดสายว่าวแบบที่ได้กล่าวไป ซึ่งเชื่อกันว่าชาวอินโดนีเซียเป็นคนนำเข้ามา ส่วนอีกแบบจะแตกต่างจากที่อื่น เพราะไม่มีการตัดสายว่าวของคู่ต่อสู้ แต่ใช้การทำให้ว่าวของคู่ต่อสู้ร่วงแทน โดยจะเป็นการแข่งขันแบบทีมและใช้ว่าวที่มีขนาดใหญ่มาก

                ปากีสถาน

                ว่าวที่ใช้ประลองของที่นี่มีรูปร่างแตกต่างจากว่าวทั่วไป เพราะแต่ละตัวจะถูกออกแบบเพื่อใช้ในการแข่งขันโดยเฉพาะ ทุกตัวจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร

                ไทย

                เป็นการแข่งขันที่มีมาแต่โบราณ โดยว่าวปักเป้าซึ่งมีขนาดเล็กกว่าสองทีมจะต้องแข่งกับว่าวจุฬาหนึ่งทีม โดยฝ่ายที่ดึงว่าวของฝ่ายตรงข้ามลงมายังเขตของตัวเองได้จะเป็นผู้ชนะ

                การประลองว่าว แม้จะเป็นกิจกรรมที่มีมาแต่โบราณ แต่ก็ยังคงเป็นกิจกรรมที่ท้าทายให้เราได้ลองเล่น วันนี้เป็นวันที่ลมแรงใช่หรือเปล่า ดังนั้นอย่าลืมนั้นเพื่อนๆ ออกไปประลองว่าวกันนะ


post

ว่าว อุปกรณ์ถ่ายภาพมุมสูงพึ่งได้ ไม่ต้องใช้โดรน

ปัจจุบันการถ่ายภาพทางอากาศเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว ไม่ว่าจากเครื่องบิน โดรน เฮลิคอปเตอร์ แต่เคยได้ยินการถ่ายภาพทางอากาศด้วยว่าวกันบ้างหรือไม่? หากยังไม่เคยมาลองฟังเรื่องราวการใช้ว่าวในการถ่ายภาพทางอากาศกัน

การถ่ายภาพทางอากาศด้วยว่าวคืออะไร

                การถ่ายภาพทางอากาศด้วยว่าว (Kite Aerial Photography : KAP) ไม่ใช่อะไรที่ใหม่และเข้าใจยากแม้แต่น้อย มันคือการผูกกล้องถ่ายรูปที่สามารถสั่งการจากระยะไกลได้ไปกับว่าว เพื่อถ่ายภาพลงมาจากมุมสูง

อุปกรณ์ที่จำเป็น

                ว่าว

                การเลือกว่าวสำหรับถ่ายภาพทางอากาศ ต้องใช้ขนาดและชนิดของว่าวที่เหมาะสม หากใช้กล้องที่มีน้ำหนักมาก ก็ควรใช้ว่าวที่สามารถรับน้ำหนักได้มากด้วย

                กล้องถ่ายรูป

                กล้องที่ใช่สามารถใช้กล้องชนิดไหนก็ได้ตามความต้องการ เช่น กล้อง Go Pro กล้อง DSLR หรือกล้อง 360 องศา แต่ควรมีระบบลดการสั่นไหว เพื่อให้ภาพที่ถ่ายคมชัด

                อุปกรณ์จับยึด

                โดยปกติแล้วสามารติดกล้องไว้กับว่าวโดยตรงได้เลย แต่การใช้อุปกรณ์จับยึดเพื่อติดกล้องไว้ที่สายห่างจากว่าวนั้นมีข้อดีคือช่วยลดการสั่นไหวที่ไม่จำเป็นที่เกิดขึ้นกับตัวว่าว นอกจากนั้นวิธีนี้ยังช่วยให้สามารถนำกล้องขึ้นทีหลัง หลังจากปล่อยให้ว่าวลอยขึ้นไปอยู่บนฟ้าอย่างมั่นคงแล้ว และเก็บกล้องหลังจากถ่ายเสร็จได้ขณะที่ว่าวยังลอยอยู่ ทำให้ไม่ต้องดึงว่าวลงมาต่ำขณะนำกล้องขึ้น ซึ่งเสียงที่ว่าวและกล้องจะตกลงสู่พื้น

                อุปกรณ์ควบคุมระยะไกล

                อุปกรณ์เชื่อมต่อที่สามารถสั่งถ่ายรูป เปลี่ยนทิศทางของกล้อง หรือเห็นภาพจากกล้องได้

ประวัติศาสตร์การใช้ว่าวเพื่อถ่ายภาพทางอากาศ

                บุคคลแรกที่ใช้ว่าวเพื่อถ่ายภาพทางอากาศเป็นนักอุตุนิยมวิทยาชาวอังกฤษชื่อว่าดักลาส อาร์ชิบาลด์ (Douglas Archibald) โดยเขาอ้างว่าได้ภาพดังกล่าวในปีค.ศ.1888 อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้แสดงรูปถ่ายดังกล่าวให้ใครดู  

ส่วนอีกคนซึ่งอาจเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าริเริ่มการถ่ายภาพทางอากาศด้วยว่าวเป็นคนแรกอย่างแท้จริงคืออาร์เธอร์ แบททิท (Arthur Batut) ช่างภาพชาวฝรั่งเศส โดยภาพแรกถูกถ่ายในปีค.ศ.1889 ซึ่งเป็นภาพชุมชนที่เขาอาศัยอยู่นั่นเอง

การถ่ายภาพทางอากาศด้วยว่าวในปัจจุบัน

                แม้ปัจจุบันเทคนิคการถ่ายภาพทางอากาศจะพัฒนาไปมาก ผู้คนส่วนใหญ่ที่ต้องการภาพมุมสูงจึงมักใช้งานโดรนซึ่งควบคุมทิศทางและความสูงได้ อย่างไรก็ตามการก็ยังมีผู้ใช้งานว่าวเพื่อถ่ายภาพทางอากาศอยู่ เนื่องจากโดรนมีพลังงานจำกัด ทำให้ในกรณีของช่างภาพที่ต้องรอคอยเพื่อถ่ายภาพเป็นเวลานาน ต้องนำโดรนลงมาเพื่อเติมพลังงานก่อนนำขึ้นไปใหม่บ่อย ๆ ในขณะที่ว่าวใช้ลม ดังนั้นในพื้นที่ ๆ มีลมตลอดเวลาก็สามารถนำกล้องขึ้นได้นานเท่าที่ต้องการ หากพลังงานของกล้องไม่หมดเสียก่อน

                หากใครอยากได้ภาพถ่ายมุมสูงแต่ไม่มีงบจะไปซื้อโดรนแพง ๆ การใช้ว่าวก็ดูจะเป็นวิธีหนึ่งที่น่าสนใจทีเดียว เพราะนอกจากจะประหยัดงบแล้ว ยังได้เล่นว่าวไปพร้อม ๆ กันอีกด้วย ยังไงก็อย่าลืมไปลองเล่นกันล่ะ

post

พลังงานสะอาด ที่เกิดขึ้นได้จากว่าว

เชื่อว่าเพื่อน ๆ พี่น้องที่มาอ่านบทความนี้คงเป็นคนที่ชอบเล่นว่าวไม่มากก็น้อย แล้วเคยคิดกันเล่น ๆ ไหมว่าลมแรง ๆ นั้นช่างมีอยู่ล้นเหลือไม่รู้จักหมดสิ้น และทำให้ว่าวของเราบินได้ทุกวี่ทุกวัน ถ้าอย่างนั้นหากสามารถใช้ลมกับว่าวนี้ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ก็คงดี สิ่งที่ว่าไปนี้เกิดขึ้นจริงแล้วในปัจจุบัน ทั้งยังเกี่ยวข้องกับการใช้ว่าวอีกด้วย นั่นคือการนำผลิตพลังงานไฟฟ้าจากลมโดยใช้ว่าว ซึ่งถือเป็นวิธีการสร้างพลังงานสะอาดที่เพิ่งถูกนำมาพัฒนาเมื่อไม่นานมานี้ แต่ก่อนจะมาดูว่าว่าวผลิตพลังงานสะอาดได้ยังไง มาทำความรู้จักกับพลังงานสะอาดกันก่อน

พลังงานสะอาดคืออะไร

                พลังงานสะอาดคือพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ สามารถนำมาใช้ได้ไม่มีวันหมด ต่างจากแหล่งพลังงานที่มนุษย์ใช้เป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน ซึ่งนอกจากก่อให้เกิดก๊าซที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ แล้ว ยังเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน และยังเป็นเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป ต้องใช้เวลาอีกหลายล้านปีเพื่อจะสะสมขึ้นใหม่ใต้ผิวโลก

พลังงานลมทางเลือกแห่งอนาคต

                พลังงานสะอาดได้มาจากหลายแหล่ง เช่น แสงอาทิตย์ การขึ้นลงของน้ำทะเล ความร้อนใต้พื้นดิน และพลังงานลมก็เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งโดยปกติแล้วพลังงานลมมักได้จากการติดตั้งกังหันลมในพื้นที่ ๆ มีลมแรง เมื่อลมพัดให้กังหันหมุน ก็จะดึงให้หม้อแปลงปั่นไฟหมุนไปด้วยเกิดเป็นไฟฟ้า

                อย่างไรก็ตามปัจจุบันอีกทางเลือกสำหรับการนำพลังงานลมมาใช้นอกจากการใช้กังหันลมอันใหญ่ ๆ ที่เราคุ้นเคย นั่นคือการนำอุปกรณ์ที่เราคุ้นเคยอย่างว่าวมาใช้นั่นเอง

ว่าวสร้างพลังงานได้อย่างไร

                การนำว่าวมาช่วยในการนำพลังงานจากลมมาใช้นั้นโดยทั่วไปมีสองวิธี วิธีแรกคือการติดตั้งกังหันลมไว้บนว่าว โดยอาจเป็นกังหันที่มีน้ำหนักเบาและมีขนาดเล็ก ซึ่งเมื่อว่าวบินอยู่บนฟ้าก็ย่อมมีลมพัดผ่านกังหันก่อให้เกิดเป็นพลังงาน อีกวิธีหนึ่งคือการใช้การเคลื่อนไหวของว่าวเพื่อดึงเชือกที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่จะเปลี่ยนพลังงานจากแรงดึงของว่าวนี้เป็นพลังงานไฟฟ้า

ข้อดีของพลังงานจากว่าว

  • ว่าวสามารถบินไปบนท้องฟ้าซึ่งมีลมแรงกว่าบนพื้นดิน จึงสร้างพลังงานได้มากกว่า
  • สร้างมลพิษน้อยกว่าอุปกรณ์กังหันลมประเภทอื่น ๆ ทั้งยังมีอุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งบนพื้นดินน้อย
  • ที่ความเร็วสูงมาก ๆ กังหันลมจำเป็นต้องปิดเพื่อป้องกันความเสียหาย ในขณะที่ว่าวสามารถใช้งานได้แม้มีพายุ
  • ระบบว่าวสามารถติดตั้งบนฐานที่ลอยอยู่ เช่นในมหาสมุทรได้ ในขณะที่กังหันลมทำไม่ได้
  • เนื่องจากอุปกรณ์ติดตั้งน้อย ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่เหตุด่วนหรือเกิดพิบัติภัย

แม้ว่าวจะเป็นอุปกรณ์ที่มีมานานแสนนาน แต่มันกลับไม่ใช่สิ่งที่ล้าสมัยและไร้ประโยชน์ เพราะนับวันเราก็ยิ่งเห็นประโยชน์ของมันมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นอย่าเพิ่งมองว่ามันเป็นสิ่งล้าสมัยและเลิกสนใจกันไปเสียก่อน มาเล่นว่าวกันให้สนุกและก่อให้เกิดประโยชน์กันดีกว่า


post

ตกปลาด้วยว่าว เมื่อว่าวกลายเป็นกิจกรรมบนท้องทะเล

ว่าวดูเหมือนจะเป็นกิจกรรมสำหรับเล่นบนบก แต่รู้หรือไม่ว่าสำหรับนักตกปลาแล้วว่าวคือสิ่งที่ควรนำไปเล่นที่ทะเล ทะเลสาบ แหล่งน้ำต่าง ๆ แต่ไม่ใช่เพื่อความบันเทิงเท่านั้น มันถูกใช้เพื่อการตกปลาด้วยเทคนิคที่มีชื่อว่า Kite fishing

ว่าวช่วยนักตกปลาอย่างไร

                Kite fishing เป็นหนึ่งในเทคนิคการตกปลาที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่นิยม เนื่องจากปลาบางชนิด เช่น ปลาดาบ ปลากระโทงร่ม ปลาทูน่า ชอบมองหาเหยื่อที่อยู่ใกล้ผิวน้ำ นอกจากนั้นปลาบางชนิดยังมักไม่กินเหยื่อเมื่อมองเห็นสายเอ็นของเบ็ดตกปลา เทคนิค Kite fishing ช่วยให้เหยื่อลอยอยู่ใกล้ผิวน้ำ นอกจากนั้นยังทำให้เอ็นตกปลาลอยอยู่เหนือน้ำ จึงเหมาะกับการตกปลาแบบที่กล่าวไปเป็นอย่างดี

                นอกจากนั้นเทคนิคนี้ยังช่วยให้นักตกปลาสามารถตกปลาในน้ำที่ค่อนข้างลึกได้โดยไม่ต้องออกเรือ และในกรณีที่ออกเรือ เทคนิคนี้ยังช่วยให้สามารถตกปลาในบริเวณที่เรือเข้าไม่ถึงหรือเป็นอันตราย เช่น บริเวณน้ำตื้นเพราะมีโขดหิน หรือมีแนวปะการัง

อุปกรณ์เสริมสำหรับว่าวตกปลา

                นอกจากอุปกรณ์ตกปลาปกติ เช่น คันเบ็ด เหยื่อตกปลาแล้ว อุปกรณ์เสริมที่ต้องใช้สำหรับการตกปลาด้วยเทคนิค kite fishing ได้แก่

  • ว่าว
  • เชือกว่าว
  • คันเบ็ดสำหรับปล่อยว่าว มีหน้าตาคล้ายเบ็ดตกปลา แต่สั้นและหนักกว่า
  • รอกสำหรับเชือกว่าว
  • อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อเชือกว่าวกับเอ็นของเบ็ดตกปลา

ว่าวที่ใช้สำหรับเทคนิคนี้ต้องออกแบบเป็นพิเศษ โดยมักมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมรูปว่าว มีความทนทานต่อลมแรง และมีความหลากหลายสำหรับใช้ในลมที่มีความเร็วแตกต่างกันไป

ขั้นตอนการใช้ว่าวตกปลา

  1.  เริ่มจากการปล่อยว่าวโดยเชือกว่าวจะพันอยู่กับรอกซึ่งเชื่อมอยู่กับคันเบ็ดสำหรับปล่อยว่าวในลักษณะเดียวกับเบ็ดตกปลา
  2. เกี่ยวเหยื่อกับเบ็ดตกปลา ซึ่งมักใช้เหยื่อเป็น ๆ จากนั้นนำเอ็นตกปลาและเชือกว่าวมาเชื่อมต่อกันด้วยอุปการณ์เชื่อมต่อ แล้วปล่อยเหยื่อลงสู่น้ำ
  3. เมื่อปลาฮุบเหยื่อ ว่าวที่ลอยอยู่จะถูกดึงลงน้ำพร้อมกัน ซึ่งทำให้นักตกปลารู้ได้ทันทีว่าถึงเวลาเย่อกับปลาแล้ว

ความยากของการใช้ว่าวช่วยตกปลา

  1. อุปกรณ์และการติดตั้งอาจดูยุ่งยากเพราะมีรายละเอียดและเทคนิคหลายอย่าง ซึ่งหากเรียนรู้จนพอเข้าใจก็จะง่ายขึ้นหลังจากนั้น
  2. การตกปลาบนเรือใหญ่ อาจทำให้การปล่อยว่าวทำได้ยากเพราะตัวเรือบังลม ในกรณีนี้ต้องหันเรือไปยังด้านที่ลมพัดว่าวได้ในตอนเริ่ม แล้วเมื่อว่าวขึ้นแล้วค่อยหันเรือ
  3. หลังจากปลาฮุบเหยื่อว่าวจะตกลงสู่น้ำ ซึ่งหากไม่รีบเก็บว่าวก็จะจบลงสู่ก้นทะเล ดังนั้นคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะไปงมเก็บ นักตกปลาที่ใช้เทคนิคนี้จึงมักผูกลูกโป่งกับว่าวเพื่อให้มันจมน้ำนั่นเอง

การเล่นว่าวนอกจากจะเป็นกิจกรรมเพื่อความสนุกสนานแล้ว ยังมีประโยชน์อย่างอื่นอีกมากมาย ซึ่งนี่เป็นเพียงหนึ่งอย่างเท่านั้น หากผู้อ่านสนใจก็สามารถไปศึกษาเพิ่มเติมได้ รับรองว่ามันจะทำให้การเล่นว่าวของคุณสนุกกว่าเดิม


post

ไม่มีลมแล้วไง รู้จักกับว่าวที่เล่นได้แม้ไม่มีลมกันเถอะ

เคยไหมที่วันที่ตั้งใจจะออกไปเล่นว่าว ฝนดันเทลงมาซะอย่างนั้น วันต่อมาฝนไม่ตกแต่อากาศดันนิ่งจนว่าวลอยจากพื้นไม่ขึ้นซักนิด พอวันถัดมาลมแรงดี แต่แดดดันร้อนเปรี้ยงจนผิวคุณไหม้เป็นแถบ ๆ อุปสรรคเรื่องสภาพอากาศเป็นของคู่กันกับนักเล่นว่าวเสมอ แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะเราจะพาคุณไปรู้จักกับการเล่นว่าวแบบไร้ลมกัน

หลักการของว่าวไร้ลม

                หลักการของการเล่นว่าวแบบไร้ลมหรือว่าวสำหรับเล่นในร่มนั้นง่ายมาก และเป็นสิ่งที่คนเล่นว่าวน่าจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วเพราะมันคือหลักการเดียวกับการนำว่าวขึ้น นั่นคือแทนที่จะรอให้ลมพัดมาหาว่าวแล้วยกมันลอยขึ้น ผู้เล่นจะต้องพาว่าวเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงข้ามกับว่าว เช่นเดินถอยหลังหรือกระตุกเชือกอย่างรวดเร็ว ซึ่งก็ทำให้อากาศที่อยู่นิ่งเสมือนกับว่าเคลื่อนที่สวนทางกับว่าว และทำให้มันลอยขึ้นได้นั่นเอง

ว่าวที่จะนำมาเล่นในสภาพแวดล้อมที่มีลมน้อยหรือไม่มีลมเลย มักมีการออกแบบต่างจากว่าวทั่วไปอย่างว่าวจุฬา ว่าวดุ๊ยดุ่ย เช่น ใช้รูปทรงที่ช่วยให้มันลอยตัวได้ง่ายแบบเดียวกับเครื่องร่อนหรือปีกของเครื่องบิน และออกแบบให้สามารถควบคุมทิศทางได้ง่าย

ข้อดีของว่าวไร้ลม

                ว่าวไร้ลมจะต้องอาศัยการเคลื่อนที่ของผู้เล่น ดังนั้นจึทำให้เกิดความเมื่อยล้าและเล่นได้ไม่นานเท่ากับการเล่นว่าวแบบใช้ลม แต่ข้อดีของมันคือผู้เล่นสามารถควบคุมว่าวได้ทั่วทิศทางรอบตัว ไม่ว่าจะบินวนเป็นวงกลม ขึ้นจากข้างล่างขึ้นข้างบน หรือแม้แต่แสดงท่าทางลีลาไม่ต่างกับการบินผาดโผนของเครื่องบินเลยทีเดียว

ข้อดีดังกล่าวทำให้การเล่นว่าวในร่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขนาดมีการนำมาแสดงตามเวทีต่าง ๆ หรือมีการจัดการแข่งขันในฐานะกีฬาประเภทหนึ่งเลยทีเดียว

มาลองทำว่าวไร้ลมอย่างง่ายกันเถอะ

อุปกรณ์

  • กระดาษขนาด 8.5 x 11 นิ้ว 1 แผ่น
  • หลอด 1 อัน
  • กระดาษย่นยาว 3 ฟุต
  • เชือกยาว 5 ฟุต
  • กรรไกร
  • ที่เจาะกระดาษ
  • ไม้บรรทัด
  • ดินสอ
  • มาสกิ้งเทป

ขั้นตอนการทำ

  1. วางกระดาษในแนวนอน พับครึ่ง จากนั้นมาร์คจุดห่างจากขอบบนและล่างของกระดาษ โดยด้านบนให้ห่างจากมุมซ้าย 1 นิ้ว ขอบล่างให้ห่างจากมุมขวา 1 นิ้ว แล้วลากเส้นเชื่อมจุดทั้งสอง
  2. พลิกกระดาษและมาร์คจุดและลากเส้นแบบเดียวกัน สังเกตุว่าเส้นบนทั้งสองด้านของกระดาษจะต้องอยู่ในตำแหน่งซ้อนทับกันพอดี
  3. พับกระดาษตามเส้นที่ขีดไว้ทั้งสองด้าน แล้วนำมาสกิ้งเทปมาปิดทับรอยพับทั้งสองด้านให้ติดกัน
  4. จนถึงข้อนี้หากนำขอบกระดาษด้านที่พับครึ่งตั้งแต่ข้อ 1 ทาบลงที่พื้น แล้วด้านตรงข้ามกางออกเป็นสี่เหลี่ยมรูปว่าวได้ถือว่าถูกต้อง
  5. นำหลอดมาติดที่ด้านสั้นของสี่เหลื่ยมรูปว่าว แล้วปิดทับด้วยมาสกิ้งเทป
  6. พลิกขอบด้านล่างขึ้น มาร์คจุดห่างจากขอบด้านหน้าของว่าว โดยให้ห่างจากขอบด้านยาว 2.75 นิ้ว และห่างจากขอบด้านกว้าง 0.5 นิ้ว ติดเทปกาวทับจุดมาร์คแล้ว เจอรู แล้วร้อยเชือกที่รูดังกล่าว
  7. ติดกระดาษย่นที่ด้านท้ายเพื่อเป็นหางของว่าว

คงรู้กันแล้วใช่ไหมว่าแม้วันที่ไร้ลมก็เล่นว่าวได้ แถมว่าวไร้ลมอย่างง่ายก็ทำได้ไม่ยากเลย ดังนั้นอย่าลืมเอาไปลองทำกันดูล่ะ แล้วคุณจะสนุกกับการเล่นว่าวได้ทุกวัน


post

แชมป์ว่าว เรื่องของว่าวกับสถิติโลก

ในยุคสมัยแห่งการแข่งขันอย่างในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเรื่องไหน ๆ ก็มักจะมีผู้ที่พยายามสร้างสถิติที่เหนือกว่าผู้อื่นอยู่เสมอ ไม่เว้นแม้แต่เรื่องของการเล่นว่าว และในบรรดาสถิติที่มีทั้งหมด นี่คือที่สุดของโลกเท่าที่เคยมีมา

ว่าวที่ใหญ่ที่สุดในโลก

                หลายคนอาจเคยเห็นว่าวที่ใหญ่เท่าคนหรือแม้แต่เท่าบ้านมาก่อน แต่รู้หรือไม่ว่าว่าวใหญ่ที่สุดที่เคยบินขึ้นสู่ท้องฟ้าใหญ่มหึมากว่านั้นมาก ว่าวที่ว่าบินขึ้นสู่ท้องฟ้าในงานเทศกาลคูเวท ฮาลา (Kuwait Hala Festival) โดยมันมีหน้าตาเป็นรูปธงคูเวท ขนาดที่ถูกบันทึกเมื่อวางราบกับพื้นมีพื้นมีด้านกว้าง 25.475 เมตร ด้านยาว 40 เมตร มีพื้นรวม 1019 ตารางเมตร หากจะเทียบให้เห็นภาพชัด ๆ ก็ขนาดประมาณสนามบาส 2 สนาม ที่นำด้านยาวมาประกบกัน นอกจากนั้นว่าวดังกล่าวยังลอยอยู่บนอากาศได้นานถึง 20 นาทีเลยทีเดียว

ว่าวที่บินสูงที่สุดในโลก

                การทำให้ว่าวบินได้สูงที่สุดอาจเป็นเป้าหมายของใครหลายคนที่หยิบว่าวขึ้นมาเล่น แต่คงมีอยู่ไม่มากที่คิดจะพามันขึ้นไปสูงเท่ากับชายชาวออสเตรเลียที่มีชื่อว่าโรเบิร์ต มัวร์ (Robert Moore) โดยเขาทำได้สำเร็จหลังจากพยายามอยู่หลายครั้ง และบันทึกสถิติความสูงได้ถึง 4879.54 เมตร ความสูงดังกล่าวเป็นครึ่งหนึ่งของความสูงที่เครื่องบินจัมโบ้เจ็ทขึ้นไปถึงขณะบินส่งผู้โดยสารเลยทีเดียว

ว่าวที่บินเร็วที่สุดในโลก

                หากใครเป็นสิงห์นักบิดหรือบรรดานักแข่งยานพานพาหนะที่ใช้ความเร็วทั้งหลาย คงจะรู้ว่าความเร็ว 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นั้นไม้น้อยเลยทีเดียว แต่รู้หรือไม่ว่ามีว่าวที่เคยบินด้วยความเร็วขนาดนี้ได้สำเร็จ โดยมันเป็นว่าวสตั้นท์แบบ 2 สาย ที่บังคับโดยชายที่ชื่อพีท ดิ จาโกโม (Pete Di Giacomo) ซึ่งเขาทำสถิตินี้ไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1989

ว่าวที่บินได้นานที่สุดในโลก

                การจะทำให้ว่าวบินอยู่บนท้องฟ้าได้นานเป็นหนึ่งในสิ่งท้าทายอย่างมาก เพราะส่วนของตัวว่าวและเชือกว่าวต้องทนต่อลมแรงเป็นเวลานานโดยไม่ขาดได้ แต่รู้หรือไม่ว่าว่าวที่ถูกพัฒนาโดยทีมจากวิทยาลัยชุมชนเอ็ดมันด์ เคยบินค้างอยู่บนท้องฟ้าได้นานถึง 180 ชั่วโมง 17 นาที

ปล่อยว่าวขึ้นบินพร้อมกันมากที่สุดในโลก

                สำหรับคนที่เล่นว่าวเป็นงานอดิเรก การนำมันขึ้นบินแค่ตัวเดียวก็อาจเป็นเรื่องยากลำบากอยู่แล้ว แต่กับชายชาวจีนชื่อว่าหม่า ชิงหัว (Ma Qinghua) กลับเลือกที่จะทำมากกว่านั้น โดยเขานำว่าวขึ้นพร้อมกันทีเดียวมากถึง 43 ตัวพร้อมกัน ทั้งยังถือสายของว่าวทุกตัวด้วยตัวเองด้วย

ส่วนอีกสถิติหนึ่งเป็นของเด็กชายมัธยมต้นชาวญี่ปุ่น ซึ่งผูกว่าว 15,585 ตัว ไว้กับเชือกเส้นเดียว โดยเว้นระยะห่างตัวละ 28 เซนติเมตร จากนั้นก็นำพวกมันขึ้นบินพร้อมกันในครั้งเดียว 

                การพยายามสร้างสถิติโลกใหม่ ๆ เป็นเรื่องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะมันท้าทายให้นักเล่นว่าวและนักพัฒนาว่าวมุ่งมั่นที่จะพัฒนาหลักการ ฝีมือ หรืออุปกรณ์สำหรับว่าวให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ดังนั้นหากใครอยากลองทำลายสถิติเหล่านี้ดูบ้างก็คงไม่เสียหายอะไร  แต่อย่าลืมที่จะสนุกไปกับมันด้วยล่ะ

post

ว่าว สายล่อฟ้าชิ้นแรกของมนุษยชาติ

หลายคนที่เคยเล่นว่าวคงจะรู้ดีว่ามันเป็นอุปกรณ์ที่ให้ความบันเทิงเริงรมย์ในวันที่ฟ้าแจ่มใส ลมพัดเย็นสบาย โดยเฉพาะในฤดูร้อนและฤดูหนาว แต่คงมีน้อยคงนักที่จะหยิบมันมาเล่นในวันที่ฝนฟ้าคะนอง เพราะนอกจากว่าวจะเปียกจนลอยไม่ขึ้นแล้ว คนเล่นก็อาจถูกฟ้าผ่าจนไหม้เป็นตอตะโกไปเสียก่อน แต่รู้หรือไม่ว่าหนึ่งในการค้นพบครั้งสำคัญของมนุษยชาติเกิดขึ้นเพราะการเล่นว่าวกลางพายุฝน

ว่าวกับการทดลองกลางพายุฝน

                นับตั้งแต่โบราณมนุษย์รู้จักไฟฟ้ามาช้านานจากปรากฏการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะจากการถูกปลาไหลไฟฟ้าช็อต การที่ก้อนอัมพันสามารถดูดวัตถุเล็ก ๆ ได้หลังจากถูกับขนสัตว์ แต่ไม่มีใครรู้ว่าจะนำสิ่งนี้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร จะกักเก็บมันไว้ใช้ได้อย่างไร หรือแม้กระทั่งไฟฟ้าและสายฟ้าที่เกิดขึ้นยามฝนตกเป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่

                ในปีค.ศ. 1752 เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกาได้ทำการทดลองกักเก็บไฟฟ้า โดยการผูกกุญแจโลหะเข้ากับเชือกว่าวที่ทำจากใยป่านที่เปียกชุ่มกลางสายฝน ในขณะที่แฟรงคลินคอยถือเชือกที่ทำจากใยไหมอยู่ในเพิง แล้วปล่อยให้ว่าวลอยสูงขึ้นไปบนเมฆขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง

                เมื่อกุญแจโลหะซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าอย่างดีลอยไฟใกล้กับก้อนเมฆซึ่งเต็มไปด้วยประจุไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าก็แล่นลงมาตามเชือกของว่าว จากนั้นก็ถูกเก็บไว้ในอุปกรณ์กักเก็บไฟฟ้าที่เรียกว่าขวดแก้วไลเดน (Leyden jar)

                การทดลองเล่นว่าวกลางสายฝนนี้เองทำให้แฟรงคลินพิสูจน์ได้ว่าฟ้าผ่าและปรากฏการณ์ทางไฟฟ้าอื่น ๆ เป็นสิ่งเดียวกัน นอกจากนั้นยังนำไปสู่การพัฒนาอุปกรณ์กักเก็บไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น แบตเตอรี่ มอเตอร์ไฟฟ้า

ว่าวกับอันตรายจากฟ้าผ่า

                แม้ว่าเบนจามิน แฟรงคลินจะรอดจากการเล่นว่าวกลางสายฝนมาได้ เพราะพวกเขาใช้เชือกสองเส้น แต่ไม่ใช่เรื่องน่าสนุกเท่าไหร่หากใครจะนึกสนุกอยากลองเล่นว่าวกลางสายฝนเหมือนกับเขาบ้าง

                ฟ้าผ่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดเมื่อละอองน้ำในก้อนเมฆชนกันไปมา แล้วปลดปล่อยประจุลบหรืออิเล็กตรอนออกมา เมื่อประจุดังกล่าวสะสมเพิ่มขึ้นจนมีจำนวนมาก ซึ่งมักเกิดขึ้นเวลามีพายุฝนฟ้าคะนอง ประจุลบเหล่านี้ก็มักวิ่งเข้าหาประจุบวก ซึ่งมีอยู่มหาศาลบนพื้นดิน เกิดเป็นปรากฏการณ์ฟ้าผ่า

แต่ประจุลบเหล่านี้ก็ชอบที่จะวิ่งเข้าหาประจุบวกที่อยู่ใกล้มากกว่าประจุบวกที่อยู่ไกล ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดฟ้าผ่าใส่วัตถุที่อยู่สูงหรือมียอดแหลม เช่น ต้นไม้ใหญ่ หรือยอดตึกสูงจึงมีมากกว่า ดังนั้นจึงไม่ต้องพูดถึงว่าวซึ่งลอยสูงเสียดฟ้าว่ามีโอกาสถูกฟ้าผ่าสูงขนาดไหน

                จากสถิติในประเทศไทยมีผู้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงจากการถูกฟ้าผ่าตั้งแต่ปีพ.ศ.2554-2558 สูงถึง 154 คน เสียชีวิตสูงถึง 38 คน แม้จะดูเหมือนเป็นตัวเลขที่ไม่มาก แต่ก็บอกได้ว่าอันตรายจากฟ้าผ่ามีมากแค่ไหน ดังนั้นสำหรับคนที่ชื่นชอบการเล่นว่าวแล้ว ควรจะระมัดระวังให้ดี อย่าได้ริลองเล่นว่าวเวลาฝนตกเป็นอันขาดเชียว

post

ทำไมว่าวถึงลอยขึ้นไปบนฟ้าได้?

จริง ๆ แล้วว่าวถือว่าเป็นเครื่องบินชนิดหนึ่งที่ไม่มีเครื่องยนต์ ดังนั้นจึงต้องใช้แรงลมมาช่วยให้ว่าวสามารถบินขึ้นไปบนฟ้าได้ ตัวว่าวจะถูกยึดติดกับพื้นด้วยสายป่าน เมื่อว่าวถูกสายลมพัดพาให้ลอยออกไปจนสุดสายป่านแล้ว จึงจะสามารถลอยขึ้นไปบนฟ้าได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากสายป่านจะช่วยให้ว่าวลอยขึ้นไปเมื่อตัวว่าวกระทบกับแรงลมแล้ว ยังสามารถช่วยไม่ให้ว่าวลอยหายไปกับสายลมได้อีกด้วย

ปัจจัยที่ทำให้ว่าวลอยสามารถบินได้

ปัจจัยที่ทำให้ว่าวสามารถบินได้มีทั้งหมด 4 ปัจจัย นั่นก็คือ แรงโน้มถ่วง แรงยก แรงขับและแรงต้าน

แรงโน้มถ่วงจะดึงทุกอย่างเข้าสู่แกนกลางของโลก ทำให้วัตถุต่าง ๆ ตกลงบนพื้น ด้วยกฏของแรงโน้มถ่วงนี้ทำให้ยิ่งว่าวมีน้ำหนักเท่าไหร่ ก็จะบินขึ้นฟ้าได้ยากเท่านั้น ว่าวส่วนมากจึงทำจากวัตถุที่มีน้ำหนักเบา ทำให้สามารถบินได้ง่ายขึ้น

เหตุผลที่ทำให้ว่าวสามารถลอยขึ้นไปบนอากาศได้

กฏที่ช่วยไม่ให้ว่าวตกลงมาสู่พื้นก็คือปัจจัยที่เรียกว่า “แรงยก” ซึ่งแรงยกนี้จะดันว่าวให้ห่างจากพื้นโลก แรงยกนี้จะเกิดขึ้นเมื่อแรงลมที่พัดเหนือว่าวมีความเร็วมากกว่าแรงลมที่พัดใต้ว่าว นักวิทยาศาสตร์ในช่วงศตวรรษที่ 18 ที่ชื่อ Daniel Bernoulli ได้ค้นพบความกดอากาศจะลดน้อยลงในระหว่างที่อากาศกำลังเคลื่อนที่ ยิ่งอากาศเคลื่อนที่เร็วเท่าไหร่ ความกดอากาศก็จะยิ่งลดลงเท่านั้น เมื่อลมผ่านตัวว่าว ลมที่ลงไปด้านล่างของว่าวจะเคลื่อนที่ช้ากว่าลมพัดที่ขึ้นไปบนด้านบนของว่าว

ยิ่งแรงลมที่พัดเหนือว่าวมีความเร็วมากเท่าไหร่ แรงกดอากาศก็จะยิ่งลดต่ำลงเท่านั้น เมื่อแรงกดอากาศด้านบนว่าวลดต่ำลง แรงกดอากาศด้านล่างของว่าวจะดันตัวว่าวขึ้นไปเพื่อจะทำให้แรงกดอากาศทั้งด้านบนและด้านล่างของว่าวเท่ากัน ยิ่งด้านบนและด้านล่างของว่าวมีความกดอากาศที่แตกต่างกันมากเท่าไหร่ ว่าวก็จะลอยตัวในอากาศได้ดีขึ้นเท่านั้นเพราะมีแรงยกช่วยนั่นเอง

ในขณะที่นกบินได้เพราะแรงตีของปีก เครื่องบินก็ใช้เครื่องยนต์ในการดันอากาศไปทางด้านหลังอย่างรวดเร็วจนทำให้เครื่องบินสามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ เราจะเห็นว่าปัจจัยที่ทำให้ทั้งนกและเครื่องบินวิ่งผ่านอากาศไปด้านหน้าอย่างรวดเร็วก็คือแรงขับ ยกตัวอย่างในกรณีของนกที่ใช้พลังของกล้ามเนื้อในการสร้างแรงขับขึ้นมา ส่วนว่าวไม่สามารถสร้างแรงขับเองได้ เมื่อว่าวถูกสายลมพัดให้ปลิวไป จึงต้องอาศัยสายป่านในการยึดให้ว่าวอยู่กับที่และสวนทางกับสายลม จึงจะสามารถค่อย ๆ เกิดแรงขับขึ้นเพื่อขับตัวเองขึ้นไปบนอากาศได้

จริง ๆ แล้วหากไม่มีสายลมที่แรงพอเพื่อที่จะดันให้ว่าวลอยขึ้นไปบนอากาศได้ เราก็สามารถวิ่งเร็ว ๆ ต้านกระลมแทนก็ได้ แต่อาจจะต้องใช้เพื่อนอีกคนที่ช่วยจับว่าวอยู่อีกด้านหนึ่งเพื่อเป็นแรงส่ง ทำให้ว่าวสามารถลอยขึ้นไปได้ง่ายขึ้น

post

เรื่องราวน่าสนุกของการแข่งว่าว ที่คุณอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อน

การแข่งว่าวเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในประเทศแถบเอเชีย เช่น บังกลาเทศ ปากีสถาน อินเดีย เนปาล ไทย เกาหลีและอัฟกานิสถาน โดยการแข่งว่าวถือเป็นกีฬาที่ตื่นเต้นผาดโผนและมีการใช้ว่าวเป็นอุปกรณ์สำคัญในการแข่งขัน

ว่าวสำหรับการแข่งขันจะต้องเป็นว่าวที่มีน้ำหนักเบาและทำจากกระดาษบาง ๆ ตัวโครงว่าทำจากไม้ที่มีความยืดหยุ่นและมีน้ำหนักเบาเช่นกัน ส่วนมากมักทำมาจากไม่ไผ่

นอกจากทวีปเอเชียแล้ว อเมริกาเองก็มีการแข่งว่าวเช่นเดียวกัน โดยวัสดุที่นำมาทำว่าวส่วนมากจะเป็นวัสดุสังเคราะห์ เช่น แผ่นไนลอนและโพลีเอสเตอร์ เป็นต้น

สายป่านเป็นกุญแจสำคัญในการทรงตัวของว่าว

เมื่อว่าวลอยขึ้นไปในอากาศ ความกดอากาศจะทำให้ว่าวเปลี่ยนรูปไป อีกทั้งยังทำให้ตัวว่าวทรงตัวได้อย่างเสถียร เมื่อสายป่านว่าวเริ่มหย่อน ว่าวจะไม่เสถียร หากเราปล่อยสายป่านว่าวออกมามากขึ้นก็จะยิ่งทำให้สายป่านว่าวหย่อน หากว่าวทรงตัวไม่ดีก็จะทำให้ตัวว่าวหมุนเคว้งไปกับลม หากสายป่านตึง ก็จะทำให้

เมื่อว่าวลอยตัวสูงขึ้นไปในอากาศ ความกดอากาศด้านบนจะทำให้ว่าวเสียรูปไปก็จริง แต่ก็จะส่งผลให้ว่าวสามารถคงตัวได้ดีบนอากาศ นอกเหนือจากความกดอากาศแล้ว ความตึงของสายป่านก็สำคัญในการทรงตัวของว่าว หากผู้เล่นปล่อยเชือกสายป่านออกมามากเกินไปจนสายป่านว่าวหย่อน ก็จะทำให้ว่าวหมุนเคว้งในอากาศได้ ดังนั้นจึงควรคุมสายป่านว่าวให้ตึงอยู่เสมอ เมื่อสายป่านว่าวตึงแล้ว ผู้เล่นก็จะสามารถควบคุมทิศทางของว่าวได้ดีขึ้น

กฏของการการแข่งว่าว

การแข่งว่าวมีกฏคือผู้เข้าแข่งขันต้องตัดสายป่านของว่าวฝั่งตรงข้ามให้ขาด สามารถแข่งได้ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป สามารถแข่งได้ทั้งผู้เล่นแบบเดี่ยวหรือแบบทีม โดยผู้ที่สามารถควบคุมว่าวของตนเองให้ลอยอยู่บนอากาศได้เป็นคนสุดท้ายของการแข่งขันก็คือผู้ชนะ จริง ๆ แล้วการแข่งว่าวถือเป็นการแข่งขันที่ค่อนข้างอันตรายเพราะว่าสายป่านว่าวมีความคมมากจนสามารถตัดคอมนุษย์ให้ขาดได้เลย

การแข่งว่าวในประวัติศาสตร์

นอกจากว่าวจะมีความผูกพันกับชาวโพลีเชี่ยนที่อาศัยอยู่ในเขตโอเชียเนีย มหาสมุทรแปซิฟิก จากตำนานเทพเจ้าพี่น้องทั้ง 2 องค์ที่เคยแนะนำให้มนุษย์รู้จักการใช้ว่าวในการต่อสู้กัน ชาวมาเลย์ในยุคแรก ๆ หรือช่วงประมาณศตวรรษที่ 15 ของจดหมายเหตุมาเลย์ ได้บันทึกเรื่องราวของเจ้าชาย Rajah Ahmad ซึ่งเป็นพระโอรสองค์ใหญ่ในสุลต่าน Mahmud แห่งมะละกา ได้เคยใช้ว่าวขนาดใหญ่ตัดสายป่ายและเอาชนะว่าวทุกตัวด้วยการตัดบินโฉบเพียงครั้งเดียว เนื่องจากพระองค์ได้ใช้สายเอ็นตกปลามาทำเป็นสายป่านว่าว สายป่านว่าวจึงคมและมีความแข็งแรงมาก วันต่อมา เจ้าชาย Rajah เข้าร่วมการแข่งขันเช่นเดิม แต่คราวนี้ถูกว่าวที่เล็กกว่าของ Hang Isa Pantas ที่ได้ทาแก้วที่ป่นเป็นผงกับยางเหนียว ๆ จากในป่าเอาไว้ที่สายป่านของตนเอง เมื่อว่าวของเจ้าชายพยายามตัดสายป่านว่าวของ Hang Isa Pantas ว่าวของเจ้าชายจึงขาดออกและร่วงลงพื้นทันที