post

ว่าวไทยกับลมหายใจอันแผ่วเบา เสน่ห์การละเล่นที่แพ้ทางกาลเวลา

ว่าว การละเล่นที่มีมาช้านาน และไม่ได้มีแค่ในไทยเราเท่านั้น หลาย ๆ ประเทศในเอเชียก็มีวัฒนธรรมการเล่นว่าวเหมือนกับไทยเรา แต่สำหรับ “ว่าวไทย” นั้น เป็นกิจกรรมที่อยู่คู่ครอบครัวไทยเลยก็ว่าได้ ในสมัยก่อนในช่วงฤดูร้อนของทุกปีในตอนนั้นน่านฟ้าของไทย และบริเวณสนามหลวงจะเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยว่าวไทยนานาชนิด เราจะเห็นว่าวตัวเล็กตัวน้อยที่ลอยโต้ลมอยู่ตลอดเวลา และได้ยินเสียงเฮฮาจากเด็ก ๆ คุณพ่อและคุณลูกที่วิ่งเล่นให้ว่าวโต้ลมสู่ฟ้ากันอย่างครึกครื้นสนุกสนาน แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไป ดูเหมือนลมที่คอยโต้ว่าวไทยให้ลอยสู่ฟ้ากลับแผ่วเบาลง นั่นทำให้ลมหายใจของว่าวไทยก็ดูเหมือนจะริบหรี่ลงไปด้วยเช่นกัน

ว่าว คือ กีฬาไทยชนิดหนึ่ง

คนรุ่นใหม่อาจจะไม่ทราบว่า สิ่งที่เรียกว่าเป็นกีฬาไทยแท้ ๆ นั้นนอกจากมวยไทยแล้ว หมากรุกไทยแล้ว ก็ยังมีว่าวไทยอีกอย่างที่อยู่ในฐานะกีฬาพื้นบ้านไทย เพราะว่าวของแต่ละชาตินั้นจะมีเอกลักษณ์ในการสร้างสรรค์โครงสร้างตัวว่าวในแบบของตนเอง ซึ่งปักเป้า กับจุฬาก็ถือว่าเป็นตัวแทนว่าวไทยในการแสดงเอกลักษณ์ให้เห็นถึงความแตกต่างจากว่าวของชาติอื่น ๆ ในเอเชีย เมื่อสมัยก่อนว่าวไทยยังเป็นกีฬาที่มีการแข่งขันกัน และสถานที่แข่งขันที่ใช้กันนั้นก็คือสนามหลวง ไม่เพียงแต่จะแข่งกันในเรื่องของความสูงในการเล่นว่าว หรือดูว่าว่าวของใครลอยสูงที่สุดโต้ลมได้นานที่สุดเท่านั้น แต่ยังมีการแข่งขันประกวดความสวยงาม และการออกแบบตัวว่าวอีกด้วย

แต่ในปี 2553 ทางการได้มีการประกาศปิดสนามหลวงเพื่อปรับปรุงพื้นที่ ซึ่งการปรับปรุงสนามหลวงครั้งนี้กินระยะเวลาเป็นปี ซึ่งแน่นอนว่ากระทบกับการแข่งกีฬาว่าวไทยเป็นอย่างมาก บวกกับปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ทั้งเรื่องของการเมืองความสงบของบ้านเมือง เหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย ส่งผลให้ว่าวไทยไม่ได้ไปต่อ การแข่งขัน การละเล่นต่าง ๆ ต้องงดไปโดยปริยาย และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของหายใจที่เริ่มแผ่วเบาของว่าวไทยในวันนี้

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีก็ทำให้ว่าวไทยวิกฤต

การที่โลกเปลี่ยนแปลงเร็วเพราะเทคโนโลยีเข้ามาแทรกแซง ทำให้อะไรที่ดูเป็นเรื่องเก่า ๆ ไม่ทันสมัยกลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกโละทิ้งให้เลือนหายไปในความทรงจำตามการเวลา และทุกสิ่งก็ต้องเป็นเช่นนั้นแบบไม่มีข้อยกเว้น ยกตัวอย่างง่าย ๆ ว่าวในฐานะกีฬาพื้นบ้านของไทย เมื่อไหร่ที่มีการจัดแข่ง ก็อาจจะมีการพนันขันต่อเล็ก ๆ ข้างสนาม เป็นการเดิมพันเพื่อความสนุกสนานไม่ได้หวังรวย แต่ปัจจุบันคนที่จะเล่นพนันกีฬาก็จะหันไปใช้บริการเว็บพนันออนไลน์ อย่างเว็บ VWIN ที่จัดเต็มเรื่องพนันกีฬาจากทั่วโลก จะพนันก็ง่าย แถมเรื่องจ่ายก็จริง นี่คือความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นในวันนี้ เวลาเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน ใจคนก็เปลี่ยน เราไม่สามารถบอกได้ว่า อะไรมันดีกว่ากัน และอะไรควรจะเป็นอย่างไร แต่ว่าวไทย ผิดอะไร ทำไมคนไทยถึงเริ่มที่เลือกจะทิ้งมันไว้ให้เหลือเพียงแค่ความทรงจำ

หากเป็นไปได้ ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง น่าจะจัดกิจกรรมอะไรสักอย่างเพื่อการส่งเสริมว่าวไทยในฐานะกีฬาพื้นบ้านของไทย เพื่อสร้างภาพจำใหม่ ๆ  ให้กับคนรุ่นหลัง ซึ่งสิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยต่อลมหายใจให้กับว่าวไทยไปได้อีกสักระยะหนึ่งทีเดียว

post

ทำอย่างไรจะเล่นว่าวไทยให้สนุกและถูกวิธี

การเล่นว่าวไทยไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอนว่าใครไปคนประดิษฐ์ขึ้นคนแรก หรือเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยใด แต่รู้ว่ามันเป็นเครื่องเล่นที่นิยมมานานมากแล้วด้วยวิธีทำว่าว และวิธีการเล่นที่ท้าทายไม่ว่าจะเป็นการเล่นแบบสวยงามเพลิดเพลินโชว์ความสวยงามของว่าที่เราทำขึ้นมา หรือเพื่อการแข่งขันกัน ประโยชณ์ของการเล่นว่าวไทยมีหลักฐานปรากฏมาตั้งแต่กรุงสุโขทัย โดยเป็นว่าวที่สามารถส่งเสียงดังเรียกว่า ว่าวหง่าว ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาปรากฏหลักฐานของชาวต่างประเทศว่า ว่าวของสมเด็จแห่งกรุงสยามปรากฏอยู่บนทองฟ้าตอนกลางคืนเป็นเวลาสองเดือน หรือจะเป็นการใช้ว่าวในการศึกสงครามโดยการผูกหม้อดินดำให้ระเบิดเพื่อเผาบ้านเผาเมืองกัน

การดูกระแสลมในการเล่นว่าวไทย

กระแสลมของการเล่นว่าวแบ่งได้หลัก ๆ ตามพื้นที่และกระแสลมที่พัดมาตามลมทะเล และตามฤดูกาล การเล่นว่าวมี 2 ระยะคือ หน้าหนาวเป็นฤดูกาลที่เหมาะกับคนที่อยู่ในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะว่าลมจะพัดจากแผ่นดินลงสู่ทะเล ส่วนอีกระยะที่เหมาะกับคนที่อยู่ในภาคกลาง ภาคตะวันตกและภาคใต้คือ หน้าร้อน เพราะจะได้รับอิทธิพลของลมตะวันตกเฉียงใต้ กระแสลมจะพัดจากทะเลเข้าสู่พื้นดิน เราควรจะศึกษาลมให้ถูกวิธีเพราะเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการเล่นว่าวในพื้นที่ที่คุณจะเล่น เพราะว่าวใช้ลมเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ว่าวสามารถเล่นได้

วิธีการเล่นว่าวของคนไทย ที่ถูกหลัก

การเล่นว่าวมี 3 แบบ การชักว่าวให้ลอยลมปักอยู่กับที่ เพื่อดูความสวยงามของว่าวรูปต่าง ๆ ต่อมาคือการบังคับสายชักให้เคลื่อนไหวได้ตามต้องการนิยมกันที่ความงาม ความสูง และบางทีก็คำนึงถึงความไพเราะของเสียงว่าวอีกด้วย ในการเล่นว่าวทั้งสองวิธีนี้ ไทยเราได้ประดิษฐ์เป็นรูปต่าง ๆ ตามความนิยมในท้องถิ่นมานานแล้ว แต่ในปัจจุบันนี้มีรูปแบบใหม่มาจากต่างประเทศปะปนด้วย ว่าวแบบดั้งเดิมของภาคต่าง ๆ บางอย่างยังปรากฏอยู่ บางอย่างก็หาดูไม่ได้แล้ว ว่าวซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของไทยและมีทุกภาคคือว่าวจุฬา ส่วนว่าวปักเป้านั้นแม้จะเล่นกันใน ภาคกลาง แต่ก็เป็นที่รู้จักกันมาก อย่างสุดท้ายคือการต่อสู้ทำสงครามกันบนอากาศ การเล่นว่าวแบบนี้แตกต่างจากชาติอื่น ทั้งตัวว่าวและวิธีที่จะต่อสู้คว้ากัน การแข่งขันว่าวจุฬากับปักเป้านั้น ว่าวปักเป้ามีขนาดเล็กกว่าว่าวจุฬาประมาณครึ่งหนึ่ง การแข่งขันแบบนี้มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ก็ยังมีการแข่งขันว่าวจุฬาและปักเป้าในภาคกลางของประเทศไทยมาจนปัจจุบันนี้

เมื่อรู้แบบของการเล่นแล้วก็คงตัดสินใจได้แล้วว่าคุณอยากเล่นไปในแนวทางไหน หรือจะเล่นทั้งสามแบบเลยก็ได้ แต่ที่สำคัญควรจะเล่นด้วยการอนุรักษ์ ว่าวไทยจะได้คงอยู่กับประเทศไทยและคนไทยไปตลอด

 

post

ตำนานว่าวไทยควรค่าแค่ไหนกับการเป็นมรดกโลก

เท้าความถึงสมัยโบราณที่มีการทำว่าวขึ้นมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเพทราชา ที่ไม่ใช่แค่ความสนุกสนานหรือเป็นการละเล่นเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น แต่เพื่อการศึกสงครามกันเลยทีเดียวโดยมีการทำดินดำที่ใช้ระเบิดใส่หม้อและผูกกับสายป่าน เพื่อชักขึ้นไปแล้วไปตกลงเพื่อเผาบ้านเมืองกันเลยทีเดียว ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการส่งเสริมการเล่นว่าวอย่างจริงจังโดยให้มีการจัดแข่งขันที่ท้องสนามหลวง ระหว่างว่าวจุฬาและว่าวปักเป้า จนเป็นสถานที่ในตำนานของการเล่นว่าวและสืบสานกันมาจนถึงยุคพุทธศักราช 2526 ภาครัฐและเอกชนได้ส่งเสริมประเพณีและส่งเสริมการแข่งขันว่าวโดยมีการแข่งขันและจัดนิทรรศการว่าวที่ท้องสนามหลวง เพื่อสืบสานความเป็นตำนานของว่าวไทย เพื่อไม่ให้มันเลือนหายไปจากเมืองไทย

และด้วยความเป็นว่าวไทยตั้งแต่ยุคสมัยโบราณการทำว่าวจึงสอดแทรกศิลปะ และเอกลักษณ์ของความเป็นไทยผ่านความละเอียดอ่อนจากการทำว่าว ไม่ว่าจะเป็นการเหลาไม้ไผ่ในการขึ้นโครงมีมากมายหลายวิธี หรือจะเป็นการใช้ใบไม้ต่าง ๆ มาทำเป็นว่าวในสมัยโบราณแล้วค่อย ๆ พัฒนามาเป็นกระดาษสาจีน ที่ได้รับอิทธิพลมาจากพ่อค้าสำเภาที่นำกระดาษเข้ามา หรือเริ่มจะเป็นกระดาษว่าวที่บางพิเศษที่นำมาผลิตว่าวโดยเฉพาะ ล้วนแล้วแต่มีความเป็นไทยสอดแทรกเข้าไปทั้งนั้น

ศิลปะไทยกับการผลิตว่าวกับการสอดแทรกความเป็นไทย

แน่นอนความทนทานของว่าวฝรั่งแต่ละชาติ วัสดุที่นำมาทำว่าวมีน้ำหนักเบา กินลมง่าย เป็นผ้าร่มและพลาสติกในการขึ้นโครงมีความยืดหยุ่นและทนทานไม่ขาดง่าย แต่ถามว่าอะไรคือเอกลักษณ์ อะไรคือตำนาน อะไรที่บ่งชี้ว่ามันจะสามารถเป็นมรดกโลกได้ แต่ว่าวไทยถ้าคุณได้สัมผัสกับมันอย่างลึกซึ้งกับการทำ กรรมวิธี ความละเอียดอ่อน และลายเส้นที่ประณีตในลวดลายของมันแล้ว คุณจะรู้ว่าคุณควรจะเก็บรักษา สืบทอด และเชิดชู

เราจะมาลองเจาะวิธีการทำว่าสิ่งที่บอกมาทั้งหมดมันคู่ควรกับการเป็นมรดกโลกหรือเปล่า เริ่มจากการเลือกไม้ไผ่ ต้องเริ่มจากการดูไม้ให้เป็นไม่แก่เกินไปและไม่อ่อนจนหักง่าย นำมาผ่าออกเพื่อรอเวลาให้ความชื้นของไม้หมดไปตามการเวลาซักหนึ่งปี ต่อมาการเหลาไม้และขึ้นโครงก็มีอีกหลายแบบไม่ว่าจะเป็นการเหลาแบบปลายบางหรือเท่ากันโดยเก็บรักษาเปลือกไว้เพื่อให้มีการให้ตัวของไม้ได้โดยการทำสอบโดยงอปลายเป็นเวลาซัก 30 วินาที และพอปล่อยต้องกลับมาเป็นรูปทรงเดิมไม่บิดเบี้ยว หรือแม้แต่การขึงไม้ขึ้นโครงจะต้องบิดปลายแค่ไหนให้เหมาะกับชนิดของว่าวที่เราจะทำเพื่องอรับลมและกินลมได้เยอะ หรือไม่ว่าจะเป็นการขึ้นรูปกระดาษแล้วมีการขึงสักให้กระดาษมีความทนทาน ขึงสักคือการที่เราเอาเชือกว่ามาขึงตามแนวว่าวไม่ว่าจะเป็นแบบตาราง หรือแบบแนวยาว แต่ละแบบก็จะเหมาะกับว่าวแต่ละชนิดมีทั้งแบบที่จะทำการแข่งขันหรือแบบสวยงาม

ที่กล่าวมานั้นเป็นแค่ส่วนเล็ก ๆ ถ้าจะต้องลงลึกในรายละเอียดทุกส่วน และประวัติความเป็นมาคงต้องเขียนเป็นหนังสือ แล้วอย่างนี้คุณว่าเหมาะหรือยังกับการเป็นมรดกโลก หันมามองดูความสำเร็จของคนโบราณที่สร้างสมประสบการณ์และเผยแพร่ให้ชาวโลกได้รู้

 

post

ว่าวของเล่นเด็กไทย แต่คนส่วนใหญ่มักสับสนกับชื่อเรียก

ว่าวเป็นของเล่นโบราณที่เด็กทุกยุคทุกสมัยต้องรู้จักและเคยเล่น ไม่ว่าจะเป็นว่าวที่คู่กับคนไทยที่ทุกคนรู้จัก คือ ว่าวจุฬาที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ โดยมีรูปแบบคล้ายกับดาวหรือมะเฟืองผ่าซีก กินลมง่ายมีอาวุธสำคัญคือจำปาเป็นไม้ไผ่เหลาและมัดติดกับป่าน สามารถที่จะเกี่ยวและดึงว่าวตัวอื่นให้เสียการทรงตัวได้ จะใช้สำหรับแข่งขันหรือการเล่นสวยงามหรือเพื่อความเพลิดเพลิน

ว่าวอีกชนิดที่เป็นที่นิยมเหมือนกันและเป็นคู่แข่งกันตลอดการคือ ว่าวปักเป้า เป็นว่าวรูปทรงขนมเปียกปูน การขึ้นโครงค่อนข้างใช้การเหลาไม้ไผ่ให้หนาหน่อย ทำให้ตัวว่าวค่อนข้างแข็งและมีหางอยู่ที่ปลายเพื่อช่วยการทรงตัว คุณสมบัติของว่าวปักเป้าคือความคล่องตัวและปราดเปรียว อาวุธประจำกายคือเหนียงที่ติดอยู่ช่วยในการเกี่ยวให้คู่ต่อสู้เสียการทรงตัวและตกลงในที่สุด

ส่วนว่าวอีกชนิดที่เด็ก ๆ ชื่นชอบคือว่าวงู ว่าวงูจะมีหัวเหมือนงูแผ่แม่เบี้ยและมีหางยาวช่วยในการทรงตัว ขึ้นง่าย เล่นง่าย สีสันหลากหลาย เหมาะสำหรับการเล่นสวยงาม เด็กทุกคนรู้จักและคุ้นเคยเพราะมีลักษณะเหมือนงูจึงจำง่ายและเรียกตามชื่อตรงตามลักษณะ

พอยุคสมัยเปลี่ยนไปความนิยมของว่าวโบราณได้ลดความนิยมลง และการขึ้นหรือการเล่นค่อนข้างยาก ทำจากกระดาษสาหรือกระดาษว่าวทำให้ขาดง่ายไม่ทนทาน ที่สำคัญหาช่างหรือคนที่สืบสานการทำว่าวยากขึ้นจึงเริ่มเลือนหายไป แต่ว่าวก็ยังเป็นที่นิยมโดยอิทธิพลของว่าวต่างประเทศจำพวก สตั้นไคท์ ที่ทำจากผ้าร่ม โครงทำจากพลาสติกที่มีความทนทานไม่ขาดง่าย และกินลมขึ้นง่ายคนเดียวก็ปล่อยว่าวได้ถ้ามีลม เด็กรุ่นใหม่จึงหันไปเล่นกันเยอะ

ว่าวอีลุ้ม อาจจะไม่คุ้นชื่อแต่ทุกคนคงคาดไม่ถึง

ลองย้อนกลับมาดูว่าวไทยในอดีตที่ได้รับความนิยมอันดับต้น ๆ อีกแบบหนึ่งนั้นคือ ว่าวอีลุ้ม ลองมาดูว่ามันมีวิธีทำอย่างไร ว่าวอีลุ้มเป็นว่าวที่รูปทรงไม่ต่างจากว่าวปักเป้า คือรูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน แต่การทำแตกต่างกันคือมีการเหลาไม้ไผ่ขึ้นโครงที่อ่อนกว่าเพื่อรับลม ทำให้ว่าวอีลุ้มกินลมมากเพราะอ่อนรับลม ส่วนปีกทั้งสองข้างมีหางช่วยในการทรงตัวของว่าวชนิดนี้ ขึ้นง่ายและเป็นที่นิยมของเด็กไทยทุกคนไม่แพ้กับว่าวชนิดอื่นหรือว่าวงู เริ่มคุ้นหรือยังครับ รูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่ทุกคนชอบสับสนว่าคุณกำลังเล่นว่าวปักเป้าอยู่ แต่หารู้ไม่ส่วนใหญ่ที่คุณเล่นมันไม่ใช่ว่าวปักเป้า เพราะว่าวปักเป้าค่อนข้างขึ้นยาก ว่าวสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่ขายกันทั่วไปมันคือว่าวอีลุ้มนั้นเอง ช่วยกันนะครับอย่าให้ของเล่นไทยประเภทว่าวจางหายไปจากเมืองไทยเลย

 

post

ว่าวไทยสื่อสารความเป็นไทยได้อย่างงดงามไม่แพ้ชาติใดในโลก

ทุกคนคงรู้ว่าศิลปะบงชี้ความเป็นชาติและยุคสมัยได้ดีแค่ไหน โดยแต่ละเชื้อชาติแต่ละศาสนาล้วนแล้วแต่ศึกษาจากต้นกำเนิดของงานศิลปะ ว่าเรามาจากไหน มีต้นตะกูลเป็นใครเผ่าไหน มีวัฒนธรรมอย่างไร มีวิถีการใช้ชีวิตแบบใดมาก่อน ไม่ว่าจะผ่านไปนานกี่ร้อยกี่พันปีก็ตาม

ส่วนใหญ่สืบค้นได้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เช่น ถ้วยโถ ชาม ของใช้ เสื้อผ้า เครื่องประดับ ล้วนดูจากลายเส้นของผ้า สีสัน ลายบนข้าวของเครื่องใช้ เครื่องประดับหลากสีสันหรือแม้แต่การถักทอของหวายหรือลายเส้นบนอาวุธ รูปแบบความโค้งเว้าของทรงแจกัน ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เกิดจากการรังสรรค์ของศิลปะทั้งนั้น จึงได้มาซึ่งข้าวของพวกนี้ที่ชนรุ่นหลังขุดค้นพบ

ว่าวก็เช่นเดียวกัน เราไม่สามารถจะปฏิเสธได้เลยว่าลายเส้นบนกระดาษที่ทำว่าว หรือแม้แต่ไม้ไผ่ที่เหลามือโดยมีความบางหนาแตกต่างกันตามขนาด และความโค้งงอของแต่ละชนิดของว่าว หรือแม้แต่เส้นด้ายหรือเชือกป่านที่นำเข้ามามัด ถักผูกขึ้นรูปก็ยังมีส่วนสำคัญในการมองความเจริญ และความประณีตของคนรุ่นก่อนเมื่อหลายร้อยปีที่ผ่านมาของคนไทย

ขั้นตอนการสื่อสารความเป็นไทยที่ใส่ลงไปในงานศิลปะการทำว่าว

ว่าวในประเทศไทย แน่นอนว่ามีเป็นร้อยชนิดตามแต่ภูมิภาค จะทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเล่น เพื่อการแข่งขัน หรือเพื่อความเพลิดเพลินก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีกรรมวิธีที่ละเอียดอ่อนตามยุคสมัย การทำว่าวเริ่มจากการที่ต้องเลือกไม้ไผ่เป็นส่วนประกอบ พอเลือกที่มีอายุพอเหมาะแล้วยังต้องผ่าทดสอบความหยืดหยุ่นและยังต้องทิ้งไว้ให้แห้งอย่างน้อย 1 ปี แล้วการเหลาก็จะมีความละเอียดอ่อนของแต่ละชนิดของว่าว

โดยคนสมัยโบราณคงมีการลองผิดลองถูกมาแล้วจนกระทั้งรู้ว่าต้องงอตรงหัวเพื่อรับลม และต้องบางตรงปลายข้างเพื่อกินลมได้ดี ส่วนกระดาษที่ใช้สมัยโบราณได้อิทธิพลมาจากจีน ก็จะเป็นกระดาษสาจีนซึ่งมีความบางแต่จะต้องทำอย่างไรให้สามารถทนแรงลมได้ ก็ต้องหาเชือกมาขึงให้แนบกับตัวกระดาษเพื่อไม่ให้กระดาษขาดง่ายแล้วสามารถกินลมอยู่บนอากาศได้นาน แถมยังต้องรู้ว่าจะต้องขึงแบบไหนที่เหมาะกับว่าวอะไรแล้วแต่ละชนิดว่าวจะต้องขึงแบบเป็นตาราง หรือแบบยาว หรือถี่แค่ไหน

ส่วนความสวยงามของว่าวทางด้านลวดลายและการตกแต่งก็ยังจะบ่งชี้ความเจริญของการทำว่าวยุคนั้น ๆ เปลี่ยนไปตามการเวลา ยุคสมัย ความเจริญของต่างชาติที่เข้ามา ไม่ว่าใครจะเห็นเป็นอย่างไรแต่ศิลปะบนผืนกระดาษสาและการทำว่าวไทยที่ละเอียดอ่อนมันจะเป็นตัวบ่งชี้ว่า นี่แหละคือเครื่องมือสื่อสารอีกอย่างหนึ่งของคนไทยที่เป็นเอกลักษณ์ และคงความเป็นไทยไม่ว่าจะคนชาติไหนที่พบเจอก็จะรู้ว่านี่คือของคนไทย แล้วคุณละจะไม่ช่วยกันอนุรักษ์และเชิดชูว่าวไทยหรือ

 

post

ทำไมว่าวไทยถึงสืบสานความเป็นมรดกโลก

ตั้งแต่สมัยโบราณการเล่นว่าวของไทยมีแพร่หลายตามหัวเมืองใหญ่ แต่ละภาคแต่ละจังหวัดของเมืองไทย หรือไม่ว่าจะเป็นของเล่นสมัยโบราณของเด็กก็ดี หรือจะเป็นเครื่องเล่นของผู้ใหญ่ก็ดี การพนันขันต่อในการแข่งขันก็ดี หรือแม้แต่พระมหากษัตริย์ก็ดี ถือว่าเป็นของโบร่ำโบราณที่นับวันจะเริ่มสูญหายและเรือนหายไปเรื่อย ๆ มองย้อนกลับไปซัก 20-30 ปีที่แล้วการเล่นว่าวยังมีอยู่มาก พอถึงหน้าร้อนของไทย ถ้าใครได้ผ่านแถวสนามหลวงจะยังพอเห็นคนเล่นว่าว และจะมีคนทำว่าวมาแขวนขายรอบ ๆ ท้องสนามหลวงเป็นจำนวนมาก ล้วนแล้วแต่เป็นว่าวไทย ไม่ว่าจะเป็นว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวอีลุ้ม ว่าวงูที่เด็ก ๆ ชอบกัน มีลายเส้นแตกต่างกันไปตามจินตนาการของผู้ทำ และมีสีสันสดสวยและรูปแบบล่อตาล่อใจคนที่ผ่านไปผ่านมา จนไม่สามารถอดใจได้ในการซื้อหาไว้เล่น

หรือถ้าใครอยากจะเล่นว่าว แน่นอนสำหรับในกรุงเทพมหานครก็ต้องมุ่งตรงไปที่สนามหลวงเพราะจะมีขายหลากหลายรูปแบบ หลังจากนั้นมาว่าวไทยก็เริ่มที่จะโดนกลืนกินโดยรูปแบบของว่าวต่างชาติที่ขึ้นง่ายกว่า เล่นง่ายกว่า ทนทานด้วยวัสดุมากกว่า เพราะใช้ผ้าร่มในการผลิต ส่วนทางด้านโครงสร้างก็ใช้พลาสติกในการทำ ทำให้ไม่หักง่ายและทนทาน ส่วนแทนที่คนไทยจะอนุรักษ์และรักษาไว้ด้วยคนรุ่นใหม่ ก็กลับกลายเป็นนิยมของใหม่รูปแบบใหม่ที่มาจากเมืองนอก กลับกันชาวต่างชาติกลับเห็นความเป็นศิลปะของลายเส้นและวิธีทำ โดยส่วนใหญ่นำไปเป็นของสะสมและของแต่งบ้าน คนที่จะสืบสานการทำก็ลดน้อยลงตามความต้องการ

ความเป็นมรดกโลกของว่าวไทย มันคือวิธีการทำที่ละเอียดอ่อน

ทำไมมันถึงสามารถเป็นมรดกโลกได้ การทำว่าวไทยแบบคร่าว ๆ อาจจะไม่ถึงกับเจาะลึกทุกรายละเอียด เริ่มตั้งแต่การเลือกไม้ไผ่ ต้องใช้ไม่ไผ่ที่มีอายุไม่น้อยจนเกินไปและไม่มากจนเกินไป ถ้าอ่อนเกินไปจะหักง่ายในการขึ้นไปปะทะกับลม แต่ถ้าแก่เกินไปจะทำให้การให้ตัวของว่าวจะไม่ดีเท่าที่ควร การดูไม้ขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้ทำ การเหลาไม้ส่วนใหญ่จะเหลาแบบลำหวาย คือเหลาเท่ากันแต่จะเรียวที่ปลายเพื่อจะมีการสปริงรับลมและกินลมได้เยอะ ส่วนกระดาษในสมัยก่อนใช้เป็นกระดาษสาจีน เป็นกระดาษเหมือนไส้ในประทัดค่อนข้างบางขาดง่ายการทำเราจึงมีการขึงกระดาษด้วยเชือกเรียกว่าการขึงสัก มีสองวิธีคือ ว่าวจุฬาจะขึงตามตารางหมากรุก ส่วนว่าวปักเป้าจะขึงตามยาวลงมา และเราจะต้องใช้เศษกระดาษตัดมาเป็นลูกปลา คือการแปะกระดาษเป็นตารางหรือเป็นแนวยาวตามว่าวเพื่อให้เชือกที่ขึงกับว่าวแนบตัวว่าวและว่าวจะคงทนไม่ขาดง่าย ขั้นตอนการทำว่าวไทยยังมีอีกเยอะถ้าจะเล่ากันจริง ๆ สามวันสามคืนก็ไม่จบ ถามว่าแค่นี้ยังพิสูจน์ไม่ได้อีกหรือว่า ว่าวไทยคือมกดกโลก

 

post

ว่าวไทย ประเพณีไทยสู่วัฒนธรรมทรงคุณค่าที่ควรรักษา

                ประเพณีของไทยนั้นอย่างที่เรารู้ ไม่เคยแพ้ชาติใดในโลก และอาจจะมีมากที่สุดในโลกก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นประเพณีขอฝนแห่นางแมวของอีสาน ประเพณีกินเจของทางใต้ ประเพณีโล้ชิงช้าของภาคกลาง ประเพณีผีตาโขนอีสาน ประเพณีวิ่งควายของพัทยาตะวันออก และอื่น ๆ ของแต่ละภาคและยังแบ่งอีกแต่ละจังหวัด หรือในแต่ละจังหวัดยังมีประเพณีอีกหลายประเพณีหรือแม้แต่ยังแบ่งแยกไปในแต่ละชนเผ่าหรือหมู่บ้านด้วยซ้ำ แต่เราจะพูดถึงประเพณีอีกประเพณีที่มีทุกภาคของประเทศไทย นั้นคือประเพณีเล่นว่าวหรือแข่งขันว่าว ไม่ว่าจะเป็นว่าวสวยงามประกวดประชันกัน ว่าวยักษ์ที่แข่งกันขึ้นไปโลดแล่นอยู่บนท้องฟ้าให้นานที่สุด หรือจะเป็นการแข่งกันเป็นฝั่งเพื่อต่อสู้กัน แล้วทำไมแค่ว่าวถึงเป็นประเพณีและวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาการทำว่าวโบราณที่บางชนิดแถบจะหาคนทำไม่ได้แล้วแต่ถ้าเราคงไว้ซึ่งประเพณีที่มีอยู่ตั้งแต่อดีต เพื่อให้อยู่ในปัจจุบันตกถอดสู่ลูกหลานจนเป็นวัฒนธรรม หรือการทำลายที่บงชี้ถึงความเจริญและลายเส้นของว่าวที่บงชี้ว่าอยู่ในยุคไหนหรือแม้แต่วัสดุที่นำมาทำว่าวก็ตาม สิ่งนี้คือคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ควรรักษา

การแข่งขันของประเพณีว่าวไทย และรูปแบบการแข่งขัน

การแข่งขันของประเพณีว่าวไทยมีหลายอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้แบ่งฝั่งอย่างเช่นในกรุงเทพที่มีมาช้านานนั้นคือ ประเพณีแข่งขันว่าวในกรุงเทพสนามหลวงคือ ว่าวจุฬาและว่าวปักเป้า โดยว่าวจุฬาจะมีจำปาซึ่งทำมาจากไม้ไผ่เหลาติดอยู่ที่สายป่านและนำมาประกอบกันหลายๆอันเป็นอาวุธในการต่อสู้เพื่อเป็นตัวเกี่ยวเชือกของว่าวปักเป้าทำเสียการทรงตัวโดยการวิ่งและให้ข้ามมาตกในแดนของว่าวจุฬา

ส่วนทางด้านว่าวปักเป้าจะมีเหนียง ซึ่งเป็นบ่วงเชือกที่มีไว้คล้องส่วนหัวของว่าวจุฬา ถ้าคล้องได้ว่าวจุฬาก็จะเสียการทรงตัวและว่าวปักเป้าก็จะพยายามให้ว่าวจุฬาตกในแดนของตนเอง แล้วไม่เท่านั้นประเพณีการเล่นว่าวอีกหลายประเพณีอย่างเช่นจังหวัดบุรีรัมย์ก็มีการทำว่าวยักแข่งขันกันขึ้นสู่ท้องฟ้าให้ได้นานที่สุดโดยน้ำหนักบางตัวเกินสิบกิโลกรัมต้องใช้คนในการช่วยทำให้มันขึ้นเป็นทีมบางทีหลายสิบคนเลยทีเดียว หรือจะเป็นอีกประเพณีคือการแข่งขันว่าว สลาแย ของจังหวัดสตูล เป็นว่าวที่มีการแข่งขันกันทางภาคใต้และมีมาเป็นเวลานานโดยการส่งว่าวขึ้นไปทีละห้าตัว ส่งขึ้นไปในแนวตั้ง โดยเล่นกันตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมเพราะได้รับอิทธิพลลมตะวันออกเฉียงเหนือ แล้วที่กล่าวมาเป็นประเพณีแค่บางส่วนในเมืองไทยและนั้นคือวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่ควรรักษา

 

post

ว่าวไทย กับภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่ส่งต่อรุ่นสู่รุ่น

                คนไทยแทบจะทุกคนและเกือบจะทุกชนชั้นก็ว่าได้ น้อยนักที่จะพูดคำว่า ไม่รู้จักว่าว เพราะว่าวถือกำเนิดและเติบโตมาพร้อม ๆ กันกับวัฒนธรรมท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ เพียงแต่ด้วยยุค ด้วยสมัยที่ทำให้ว่าวมีการเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นทางด้านรูปแบบ วัสดุในการนำมาผสมผสาน ลวดลาย สีสัน ด้วยการผิดแผกแตกต่างกันไปนานา นับประการนั้น ก็เป็นไปตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของผู้ประดิษฐ์ ผู้จัดทำ บ้างก็แล้วแต่ตามความนิยม ความชื่นชอบ หรือ เป็นไปตามช่วงกาลเวลาต่าง ๆ แต่เมื่อได้ลองพิจารณาโดยภาพรวมแล้วนั้น ว่าวก็ยังถือได้ว่า มีลักษณะรูปร่าง รูปแบบ วิธีการต่าง ๆ ที่ก่อเกิดเป็นว่าวมาได้นั้น มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันแทบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นว่าวจากจังหวัดใด ภูมิภาคใด หรือแม้แต่ว่าวต่างแดนจากทั่วทุกประเทศก็ตาม ซึ่งก็จะเป็นการบ่งบอกถึงวัฒนธรรมของแหล่งชุมชนนั้น ๆ ได้อย่างเหมาะสมลงตัว ตามภูมิปัญญาอันถือกำเนิดจากท้องถิ่น ที่อยู่อาศัยโดยรอบตัว นำมาพัฒนา ผสมผสานปรับแต่ง ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ เป็นการต่อยอดให้กับท้องถิ่น  


ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับว่าว

 

                ในอดีต เราคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า เส้นทางต่าง ๆ ยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง รวมถึงอาวุธยุทธ์โทปกรณ์ ก็ไม่ได้อำนวยความสะดวกสบายได้เหมือนในปัจจุบัน การทำศึกสงครามเพื่อปกป้องอารยประเทศจึงต้องคิดค้นหาวิธีการ ต่าง ๆ กำจัดข้าศึก ว่าวจึงได้ถูกนำมาเป็นเครื่องมือ และอุบาย เพื่อจัดการข้าศึกศัตรูฝ่ายตรงข้ามให้พ่ายแพ้ กล่าวโดย ได้นำหม้อดิน มาบรรจุดินดำ แล้วผูกกับสายป่านของว่าวไปถึงหม้อดินดำที่ใช้เป็นระเบิด ให้ตกไปไหม้บ้านเมืองของฝ่ายศัตรูนั่นเอง ซึ่งจากประวัติศาสตร์ศึกครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ว่าวจุฬาได้ถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรก

ว่าวจากการใช้วัสดุธรรมชาติพื้นบ้าน

 

                ส่วนใหญ่ภูมิปัญญาของผู้คนเกิดจากการนำสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัว นำมาจัดสรร  ประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะของใช้ ของเล่น หรือแม้แต่ของกิน  ซึ่งว่าวก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านได้นำวัสดุท้องถิ่น อย่างเช่น การใช้ใบตองตึง ในการทำตัวว่าว โดยใบตองตึงเป็นใบไม้ที่พบมากทางภาคอีสาน ใช้ห่อสิ่งของต่าง ๆ แทนพวกถุงกระดาษ ถุงพลาสติกในปัจจุบัน เพราะมีลักษณะเป็นใบใหญ่ ๆ นำมาตากแดดให้แห้ง ติดเชือกต่อหาง ให้เด็ก ๆ ได้เล่นกันอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน เรียกกันว่า ว่าวใบไม้ เป็นการทำว่าวแบบลักษณะง่าย ๆ หรือการใช้วัสดุพื้นบ้านที่หาได้ง่าย อย่างไม้ไผ่จากต้นไผ่ที่มีขึ้นเองตามป่าเขา นำมาเหลาทำโครงของตัวว่าว ได้อย่างดีเยี่ยม และลงตัวอย่างมาก มาจนถึงปัจจุบัน เพราะไม้ไผ่มีความยืดหยุ่นสูงและสามารถเหลาได้ทุกขนาดตามความต้องการนั่นเอง

 

นอกจากวัสดุที่นำมาประกอบทำเป็นว่าวแล้ว องค์ประกอบอื่น ๆ ในการที่จะทำให้ว่าวมีประสิทธิภาพ คือ แรงลม และ สายป่านที่เหนียวพอที่จะต้านแรงลม รวมถึงทักษะ ฝีมือในการกำหนดทิศทาง และให้ว่าวสามารถอยู่ในอากาศได้นานตามต้องการอีกด้วย  ซึ่งถือเป็นความท้าทาย และถือเป็นการคอยพัฒนาภูมิปัญญาที่มีอยู่โดยรอบให้มีประสิทธิผลมากยิ่ง ๆ ขึ้นเราควรช่วยกันรักษาดูแลมรดกทางภูมิปัญญานี้ไว้ให้คงอยู่ไปสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน ให้ยาวนานที่สุดด้วยความภาคภูมิใจ

post

ว่าว 5 ภาค บ่งบอกวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของแต่ละภูมิภาคของไทย


จากที่เราได้ทราบกันดีถึงประวัติของว่าวที่มีกันมาช้านานตั้งแต่สมัยสุโขทัย ทำให้ว่าวได้กระจ่ายไปทั่วทุกภูมิภาคของบ้านเมืองเรา ได้รับความนิยมตั้งแต่ระดับสามัญชนไปจนถึงชั้นเจ้านาย เจ้าแผ่นดิน ว่าวในแต่ละภูมิภาคก็จะมีเอกลักษณ์ มีความแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น และตามสภาพแวดล้อม

ว่าวของภาคเหนือ

ทางภาคเหนือนั้นมีการทำว่าวรูปแบบที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ใช้โครงไม้ไผ่นำมาไขว้กัน โดยมีหนึ่งอันเป็นแกนกลาง และอีกหนึ่งอันนำมาโค้งเป็นปีกว่าว และจะไม่ได้ใช้เชือกผูกหรือมัด แต่ใช้เป็นกระดาษปิดทับไปกับโครงไม้เลย รูปร่างของว่าวจะคล้าย ๆ กับว่าวปักเป้า และว่าวอีลุ้มของทางภาคกลาง แต่จะไม่มีหาง จะมีแต่ภู่ แต่ก็จะใช้เป็นภู่เพียงชนิดเดียวจะไม่มีหลายแบบเหมือนของภาคกลาง ผู้คนส่วนมากนิยมเล่นว่าวในแบบพื้นเมืองของพวกเค้า โดยที่นิยมมากที่สุด คือว่าวสองห้อง หรือที่ภาคกลางเรียกว่า ว่าวดุ๊ยดุ่ย  ปัจจุบันนี้ทางภาคเหนือได้มีการดัดแปลงจากว่าวพื้นเมือง มาเป็นว่าวล้านนา เรียกว่าว่าวฮม หรือ โคมลอย นั่นเอง โดยใช้ความร้อนในการพยุงให้ลอยขึ้นไปในอากาศแบบไม่มีเชือกผูกว่าวไว้  คล้าย ๆ  กับบอลลูนของชาวต่างชาติ

ว่าวของภาคกลาง

สืบเนื่องมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ที่ชาวเมืองมีความนิยมชมชอบการเล่นว่าวเป็นอย่างมาก และมีรูปแบบต่าง ๆ กันเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นว่าวรูปแบบดั้งเดิม เช่น ว่าวปักเป้า ว่าวดุ๊ยดุ่ย ว่าวอีลุ้ม นอกจากนี้ก็มีว่าวรูปแบบใหม่ ๆ  ที่ได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ เช่น ว่าวงู ว่าวนกยูง ว่าวผีเสื้อ เป็นต้น แต่มาในสมัยของพระเจ้าอู่ทองได้มีการห้ามมิให้มีการเล่นว่าวใกล้พระบรมมหาราชวัง เพราะว่าวจะลอยไปติดตามยอดปราสาทเกิดความเสียหายนั่นเอง ในช่วงหนึ่งนั้นชาวต่างชาติจะพบเห็น การเล่นว่าวทั่วไปตามท้องสนามหลวง โดยในสมัยตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ได้ทรงมีพระบรมราชานุญาติ ให้ประชาชนเล่นว่าวได้ที่ท้องสนามหลวง จึงเป็นเหมือนสัญญาลักษณ์ และเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติไปเสียแล้ว โดยว่าวที่นิยมและถือเป็นลักษณะว่าวของภาคกลางคือว่าวปักเป้า ซึ่งจะมีอาวุธที่ใช้โจมตีคู่ต่อสู้ ที่เรียกว่า เหนี่ยง โดยจะมีสายทุ้งและสายยืน ซึ่งสายทุ้งจะมีลักษณะที่ยาวกว่าสายยืนสักเล็กน้อย แต่ก็ใหญ่และแข็งแรงพอที่จะจัดการเหนี่ยวรั้งว่าวจุฬาทำให้เสียการทรงตัวแล้วล่วงตกลงในที่สุด

ว่าวของภาคตะวันออก

ว่าวของภูมิภาคนี้ ที่มักนิยมเล่นกัน ก็จำพวก ว่าวอีลุ้ม ว่าวหาง ว่าวหัวแตก ว่าวดุ๊ยดุ่ย ว่าวใบมะกอก เป็นต้น ซึ่งเป็นว่าวในรูปแบบดั้งเดิม พื้นบ้าน หรือลักษณะว่าวของภาคอื่น ๆ โดยไม่นิยมที่จะเล่นว่าวที่เป็นรูปลักษณ์จากของต่างประเทศ

ว่าวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้คนส่วนมากนิยมเล่นว่าวพื้นเมืองมากที่สุด คือว่าวสองห้อง หรือที่ภาคกลางเรียกว่า ว่าวดุ๊ยดุ่ย รองมาคือว่าวอีลุ้ม ว่าวประทุน และเมื่อถึงเทศกาลงานบุญ เช่น งานบุญกุ้มข้าวใหญ่ ประชาชนมักจะจัดให้มีการแข่งขันว่าว โดยมีการกำหนดการตัดสินที่หลากหลายกันไป เช่น ความสวยงาม หรือว่าวที่ขึ้นลมได้สูงที่สุด ว่าวที่มีเสียงดังและไพเราะที่สุด เป็นต้น

ว่าวของภาคใต้

การเล่นว่าวในภาคนี้นิยมเล่นเพื่อสร้างความสนุกสนาน โดยมีว่าวที่นิยมอยู่หลายชนิด เช่น ว่าววงเดือน ว่าวปักเป้า ว่าวนก ว่าวหลา (ว่าวจุฬา) ว่าวอีลุ้ม ว่าวงู ว่าวคน ว่าวกระบอก เป็นต้น แต่ว่าวที่นิยมมากที่สุดคือ ว่าววงเดือน โดยจะทำการชักว่าวให้ขึ้นค้างคืนไว้ แล้วเอาลงในอีกวันถัดไป เมื่อว่าวของใครอยู่ได้นานกว่าถือว่าชนะ นอกจากนี้จะนิยมประชันว่าว่าวของใครจะมีเสียงแอกดังและไพเราะกว่ากัน จังหวัดสงขลามีผู้นิยมเล่นว่าวเป็นจำนวนมาก และมีรูปร่างว่าวต่าง ๆ ส่วนในพื้นที่ที่อยู่ถัดลงไปจากสงขลา จะนิยมเล่นว่าววงเดือนมากกว่าว่าวแบบอื่น และมักจะนิยมติดแอกหรือที่เรียกกันว่า สะนู หรือ ธนู ไว้บริเวณส่วนหัวของว่าว

จะเห็นได้ว่าว่าวไทยมีอยู่ทั่วไปทุกภาค นอกจากเป็นกีฬาแล้วก็ยังสร้างความสนุกสนานเพลินเพลินให้ทั้งผู้เล่นและผู้ชมอีกด้วย  ถือเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจในภูมิปัญญา และการเล่นกีฬาพื้นบ้านของคนไทย

 

post

ไปดูคนไทยเค้าเล่นว่าวกันช่วงไหนกันบ้าง


ประเทศไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตลมมรสุม ทำให้กีฬาเล่นว่าวที่มีมาแต่ช้านานแล้วนั้นเป็นที่นิยมกันทุกภาคของประเทศไทย และทุกชนชั้นนับตั้งแต่องค์พระมหากษัตริย์ลงมาจนถึงคนสามัญทั่วไป แล้วยังใช้ประโยชน์อื่น ๆ จากว่าว นอกจากความเพลิดเพลินอีกด้วย โอกาสสำหรับการเล่นว่าวไม่ได้อำนวยให้เสมอ หากแต่มีฤดูกาลของมัน แน่นอนจะเล่นว่าวให้สนุกต้องดูเรื่องของกระแสลม

กระแสลมจะมีอยู่ 2 ระยะ คือ

          ฤดูหนาว

ลมจะทำการพัดจากผืนแผ่นดินเพื่อลงสู่ท้องทะเล คือ จะพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้คนทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะยังคงนิยมเล่นว่าวในหน้าหนาว ประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์

          ฤดูร้อน

ในช่วงฤดูร้อน จะมีลมทางฝั่งตะวันตกเฉียงใต้จากทางทะเล พัดเข้าสู่ผืนแผ่นดิน หรือที่เราเรียกกันว่า ลมตะเภา ซึ่งจะเป็นช่วงฤดูการเล่นว่าวของชาวภาคกลาง ภาคตะวันตกและภาคใต้ ซึ่งจะอยู่ในช่วงของเดือนมีนาคม ถึง เมษายน และมักจะนิยมเรียกกันว่า ลมว่าว

วิธีเล่นว่าวของไทย มีอยู่ 3 วิธี คือ

  1. การชักให้ว่าวลอยลมอยู่กับที่ เพื่อมองดูความสวยงามและความพลิ้วไหวของว่าว
  2. การบังคับว่าวให้เคลื่อนที่ไปมาตามความต้องการ เช่น ความสูงต่ำ การฉวัดเฉวียงไปมา และบางครั้งก็จะมีในเรื่องของเสียงเข้ามาสร้างความไพเราะ
  3. การต่อสู่แข่งขันกลางอากาศ

ทั้งนี้การเล่นว่าวใน 2 ชนิดแรกจะเน้นในเรื่องของความสวยงามตามท้องถิ่นและภูมิปัญญา โดยจะมี

หลายหลายรูปแบบแตกต่างกันไป ส่วนการเล่นว่าวในลำดับสุดท้ายจะยังคงนิยมกันมาจากอดีตจนปัจจุบันคือการแข่งขันว่าวจุฬาและปักเป้า ซึ่งว่าวจุฬาจะมีขนาดใหญ่กว่าว่าวปักเป้าถึง 2 เท่า โดยว่าวจุฬามีอาวุธคือ จำปา ส่วนว่าวปักเป้ามีอาวุธคือเหนียง ต่างคนต่างต้องเกี่ยวให้อีกฝ่ายร่วงตกลงมา ฝ่ายที่ยังคงอยู่บนท้องฟ้าจะเป็นฝ่ายชนะ นอกจากการแข่งขันว่าวแบบว่าวจุฬากับว่าวปักเป้านี้แล้ว ก็ยังมีการแข่งแบบอื่น ๆ อีกมากมาย อาทิ เช่น การชักว่าวแข่งความสูง การแข่งขันด้านความสวยงาม การแข่งขันเรื่องเสียงดัง เสียงไพเราะ เหมือนว่าวที่ติดดุ๊ยดุ่ย หรือติดแอก แบบของทางภาคใต้นั่นเอง

จะเห็นได้ว่าในหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ ๑๓ กล่าวถึงการเล่นว่าวไว้ว่า “ปรากฏหลักฐานการเล่นว่าวว่ามีมาแต่กรุงสุโขทัย เป็นว่าวที่ส่งเสียงดังเวลาลอยอยู่ในอากาศ เรียกว่า “ว่าวหง่าว” ในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ปรากฏตามหลักฐานของชาวต่างประเทศว่า “ว่าวของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามปรากฏในท้องฟ้าทุกคืนตลอดเวลาระยะ 2  เดือน…” จากหลักฐานข้างต้นแสดงให้เห็นว่าชาวไทยรู้จักการเล่นว่าวมาไม่ต่ำกว่า 7๐๐ ปีแล้ว  และควรสืบสานและอนุรักษ์การเล่นว่าวของไทยให้คงอยู่ต่อไป