post

ว่าวไทยกับลมหายใจอันแผ่วเบา เสน่ห์การละเล่นที่แพ้ทางกาลเวลา

ว่าว การละเล่นที่มีมาช้านาน และไม่ได้มีแค่ในไทยเราเท่านั้น หลาย ๆ ประเทศในเอเชียก็มีวัฒนธรรมการเล่นว่าวเหมือนกับไทยเรา แต่สำหรับ “ว่าวไทย” นั้น เป็นกิจกรรมที่อยู่คู่ครอบครัวไทยเลยก็ว่าได้ ในสมัยก่อนในช่วงฤดูร้อนของทุกปีในตอนนั้นน่านฟ้าของไทย และบริเวณสนามหลวงจะเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยว่าวไทยนานาชนิด เราจะเห็นว่าวตัวเล็กตัวน้อยที่ลอยโต้ลมอยู่ตลอดเวลา และได้ยินเสียงเฮฮาจากเด็ก ๆ คุณพ่อและคุณลูกที่วิ่งเล่นให้ว่าวโต้ลมสู่ฟ้ากันอย่างครึกครื้นสนุกสนาน แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไป ดูเหมือนลมที่คอยโต้ว่าวไทยให้ลอยสู่ฟ้ากลับแผ่วเบาลง นั่นทำให้ลมหายใจของว่าวไทยก็ดูเหมือนจะริบหรี่ลงไปด้วยเช่นกัน

ว่าว คือ กีฬาไทยชนิดหนึ่ง

คนรุ่นใหม่อาจจะไม่ทราบว่า สิ่งที่เรียกว่าเป็นกีฬาไทยแท้ ๆ นั้นนอกจากมวยไทยแล้ว หมากรุกไทยแล้ว ก็ยังมีว่าวไทยอีกอย่างที่อยู่ในฐานะกีฬาพื้นบ้านไทย เพราะว่าวของแต่ละชาตินั้นจะมีเอกลักษณ์ในการสร้างสรรค์โครงสร้างตัวว่าวในแบบของตนเอง ซึ่งปักเป้า กับจุฬาก็ถือว่าเป็นตัวแทนว่าวไทยในการแสดงเอกลักษณ์ให้เห็นถึงความแตกต่างจากว่าวของชาติอื่น ๆ ในเอเชีย เมื่อสมัยก่อนว่าวไทยยังเป็นกีฬาที่มีการแข่งขันกัน และสถานที่แข่งขันที่ใช้กันนั้นก็คือสนามหลวง ไม่เพียงแต่จะแข่งกันในเรื่องของความสูงในการเล่นว่าว หรือดูว่าว่าวของใครลอยสูงที่สุดโต้ลมได้นานที่สุดเท่านั้น แต่ยังมีการแข่งขันประกวดความสวยงาม และการออกแบบตัวว่าวอีกด้วย

แต่ในปี 2553 ทางการได้มีการประกาศปิดสนามหลวงเพื่อปรับปรุงพื้นที่ ซึ่งการปรับปรุงสนามหลวงครั้งนี้กินระยะเวลาเป็นปี ซึ่งแน่นอนว่ากระทบกับการแข่งกีฬาว่าวไทยเป็นอย่างมาก บวกกับปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ทั้งเรื่องของการเมืองความสงบของบ้านเมือง เหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย ส่งผลให้ว่าวไทยไม่ได้ไปต่อ การแข่งขัน การละเล่นต่าง ๆ ต้องงดไปโดยปริยาย และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของหายใจที่เริ่มแผ่วเบาของว่าวไทยในวันนี้

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีก็ทำให้ว่าวไทยวิกฤต

การที่โลกเปลี่ยนแปลงเร็วเพราะเทคโนโลยีเข้ามาแทรกแซง ทำให้อะไรที่ดูเป็นเรื่องเก่า ๆ ไม่ทันสมัยกลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกโละทิ้งให้เลือนหายไปในความทรงจำตามการเวลา และทุกสิ่งก็ต้องเป็นเช่นนั้นแบบไม่มีข้อยกเว้น ยกตัวอย่างง่าย ๆ ว่าวในฐานะกีฬาพื้นบ้านของไทย เมื่อไหร่ที่มีการจัดแข่ง ก็อาจจะมีการพนันขันต่อเล็ก ๆ ข้างสนาม เป็นการเดิมพันเพื่อความสนุกสนานไม่ได้หวังรวย แต่ปัจจุบันคนที่จะเล่นพนันกีฬาก็จะหันไปใช้บริการเว็บพนันออนไลน์ อย่างเว็บ VWIN ที่จัดเต็มเรื่องพนันกีฬาจากทั่วโลก จะพนันก็ง่าย แถมเรื่องจ่ายก็จริง นี่คือความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นในวันนี้ เวลาเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน ใจคนก็เปลี่ยน เราไม่สามารถบอกได้ว่า อะไรมันดีกว่ากัน และอะไรควรจะเป็นอย่างไร แต่ว่าวไทย ผิดอะไร ทำไมคนไทยถึงเริ่มที่เลือกจะทิ้งมันไว้ให้เหลือเพียงแค่ความทรงจำ

หากเป็นไปได้ ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง น่าจะจัดกิจกรรมอะไรสักอย่างเพื่อการส่งเสริมว่าวไทยในฐานะกีฬาพื้นบ้านของไทย เพื่อสร้างภาพจำใหม่ ๆ  ให้กับคนรุ่นหลัง ซึ่งสิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยต่อลมหายใจให้กับว่าวไทยไปได้อีกสักระยะหนึ่งทีเดียว

post

ว่าวไทย กับภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่ส่งต่อรุ่นสู่รุ่น

                คนไทยแทบจะทุกคนและเกือบจะทุกชนชั้นก็ว่าได้ น้อยนักที่จะพูดคำว่า ไม่รู้จักว่าว เพราะว่าวถือกำเนิดและเติบโตมาพร้อม ๆ กันกับวัฒนธรรมท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ เพียงแต่ด้วยยุค ด้วยสมัยที่ทำให้ว่าวมีการเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นทางด้านรูปแบบ วัสดุในการนำมาผสมผสาน ลวดลาย สีสัน ด้วยการผิดแผกแตกต่างกันไปนานา นับประการนั้น ก็เป็นไปตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของผู้ประดิษฐ์ ผู้จัดทำ บ้างก็แล้วแต่ตามความนิยม ความชื่นชอบ หรือ เป็นไปตามช่วงกาลเวลาต่าง ๆ แต่เมื่อได้ลองพิจารณาโดยภาพรวมแล้วนั้น ว่าวก็ยังถือได้ว่า มีลักษณะรูปร่าง รูปแบบ วิธีการต่าง ๆ ที่ก่อเกิดเป็นว่าวมาได้นั้น มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันแทบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นว่าวจากจังหวัดใด ภูมิภาคใด หรือแม้แต่ว่าวต่างแดนจากทั่วทุกประเทศก็ตาม ซึ่งก็จะเป็นการบ่งบอกถึงวัฒนธรรมของแหล่งชุมชนนั้น ๆ ได้อย่างเหมาะสมลงตัว ตามภูมิปัญญาอันถือกำเนิดจากท้องถิ่น ที่อยู่อาศัยโดยรอบตัว นำมาพัฒนา ผสมผสานปรับแต่ง ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ เป็นการต่อยอดให้กับท้องถิ่น  


ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับว่าว

 

                ในอดีต เราคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า เส้นทางต่าง ๆ ยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง รวมถึงอาวุธยุทธ์โทปกรณ์ ก็ไม่ได้อำนวยความสะดวกสบายได้เหมือนในปัจจุบัน การทำศึกสงครามเพื่อปกป้องอารยประเทศจึงต้องคิดค้นหาวิธีการ ต่าง ๆ กำจัดข้าศึก ว่าวจึงได้ถูกนำมาเป็นเครื่องมือ และอุบาย เพื่อจัดการข้าศึกศัตรูฝ่ายตรงข้ามให้พ่ายแพ้ กล่าวโดย ได้นำหม้อดิน มาบรรจุดินดำ แล้วผูกกับสายป่านของว่าวไปถึงหม้อดินดำที่ใช้เป็นระเบิด ให้ตกไปไหม้บ้านเมืองของฝ่ายศัตรูนั่นเอง ซึ่งจากประวัติศาสตร์ศึกครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ว่าวจุฬาได้ถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรก

ว่าวจากการใช้วัสดุธรรมชาติพื้นบ้าน

 

                ส่วนใหญ่ภูมิปัญญาของผู้คนเกิดจากการนำสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัว นำมาจัดสรร  ประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะของใช้ ของเล่น หรือแม้แต่ของกิน  ซึ่งว่าวก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านได้นำวัสดุท้องถิ่น อย่างเช่น การใช้ใบตองตึง ในการทำตัวว่าว โดยใบตองตึงเป็นใบไม้ที่พบมากทางภาคอีสาน ใช้ห่อสิ่งของต่าง ๆ แทนพวกถุงกระดาษ ถุงพลาสติกในปัจจุบัน เพราะมีลักษณะเป็นใบใหญ่ ๆ นำมาตากแดดให้แห้ง ติดเชือกต่อหาง ให้เด็ก ๆ ได้เล่นกันอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน เรียกกันว่า ว่าวใบไม้ เป็นการทำว่าวแบบลักษณะง่าย ๆ หรือการใช้วัสดุพื้นบ้านที่หาได้ง่าย อย่างไม้ไผ่จากต้นไผ่ที่มีขึ้นเองตามป่าเขา นำมาเหลาทำโครงของตัวว่าว ได้อย่างดีเยี่ยม และลงตัวอย่างมาก มาจนถึงปัจจุบัน เพราะไม้ไผ่มีความยืดหยุ่นสูงและสามารถเหลาได้ทุกขนาดตามความต้องการนั่นเอง

 

นอกจากวัสดุที่นำมาประกอบทำเป็นว่าวแล้ว องค์ประกอบอื่น ๆ ในการที่จะทำให้ว่าวมีประสิทธิภาพ คือ แรงลม และ สายป่านที่เหนียวพอที่จะต้านแรงลม รวมถึงทักษะ ฝีมือในการกำหนดทิศทาง และให้ว่าวสามารถอยู่ในอากาศได้นานตามต้องการอีกด้วย  ซึ่งถือเป็นความท้าทาย และถือเป็นการคอยพัฒนาภูมิปัญญาที่มีอยู่โดยรอบให้มีประสิทธิผลมากยิ่ง ๆ ขึ้นเราควรช่วยกันรักษาดูแลมรดกทางภูมิปัญญานี้ไว้ให้คงอยู่ไปสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน ให้ยาวนานที่สุดด้วยความภาคภูมิใจ

post

พัฒนาการของว่าว จากเรื่องง่าย ๆ ในอดีตสู่ปัจจุบันที่สวยงาม

                คุณอาจนึกไม่ถึงว่า ว่าวที่เราเห็นในปัจจุบันนั้น ก็มีวิวัฒนาการต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน การเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน มีด้วยกันในทุก ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัสดุ เรื่องรูปแบบ รูปร่าง สีสัน ลวดลาย และการละเล่น ล้วนแล้วแต่มีการเปลี่ยนแปลงด้วยกันทั้งสิ้น รวมถึงบางครั้ง แม้กระทั่งวัตถุประสงค์ในการจัดทำว่าวขึ้นก็มีมากขึ้นกว่าในอดีต ที่ต้องการทำว่าวเพื่อได้เล่นสนุกเพลิดเพลินในครัวเรือนของแต่ละบ้านเพียงเท่านั้น  

การทำว่าวจากอดีตสู่ปัจจุบัน มีอยู่ 5 ประเภท

1. การทำว่าวจากวัสดุธรรมชาติ รอบ ๆ ตัวของผู้คนในสมัยก่อน จะเน้นที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพราะต้องการสร้างความเพลิดเพลินให้เพียงเท่านั้น จึงนิยมใช้พวกใบไม้ประเภทใบใหญ่ เช่น ใบตองตึง ใบกระบอก ใบยางแดง เป็นต้น ไม่ได้เน้นถึงสีสัน หรือความคงทนแข็งแรง

2.การพัฒนาอีกขั้นของว่าวจากวัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มาเป็นว่าวจากกระดาษ ซึ่งก็มีมีการพัฒนาในเรื่องของตัวกระดาษ จากกระดาษธรรมดา ๆ ก็ปรับให้มีสีสัน ลวดลาย สวยงามมากยิ่งขึ้น เพิ่มความคงทน แต่ยังคงมีประสิทธิภาพในการลอยตัวในอากาศได้ดีเช่นเดิม การทำว่าวจากกระดาษก็จะมีการปรับเพิ่มขั้นตอนอย่างมีแบบแผนมากยิ่งขึ้นกว่าการใช้วัสดุจากธรรมชาติ เพราะเริ่มต้องมีการซื้อหาอุปกรณ์เพื่อการจัดทำมากกว่าเดิม มีการทำตัวโครงเพื่อรองรับตัวกระดาษ เพิ่มความคงทนแข็งแรง สวยงามมากยิ่งขึ้น แต่ก็ยังคงมีวัตถุประสงค์เพื่อการละเล่นที่ให้ความเพลิดเพลินเช่นเดิม

3.การจัดทำว่าวที่มีลักษณะของความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น มีการทำอุปกรณ์เพิ่มเติม เพื่อก่อให้เกิดเสียงดีกว่าแบบเดิม ๆ และมีความแตกต่างของรูปทรงมากยิ่งขึ้น จากว่าวที่เคยมีลักษณะแบนเรียบมองเป็นมิติเดียว เปลี่ยนแปลงเป็นว่าวที่มีมิติเห็นรูปทรงมากยิ่งขึ้น เช่นว่าวแอก ส่วนที่ประเทศมาเลเซียจะเรียกว่าวลักษณะนี้ว่า สะนู หรือธนู จะมีลักษณะทำจากไม้ไผ่ทรงกระบอกส่วนกลางกลวง บริเวณส่วนหัวของว่าว เมื่อว่าวกินลมบนท้องฟ้าแล้วจะมีเสียงดังแอก ๆ โดยเสียงจะยาวหรือเบา ขึ้นอยู่กับเทคนิคการทำแอก เช่น ว่าวควาย ว่าววงเดือน หรือที่ประเทศมาเลเซียเรียกว่า ว่าวบูรันบูแล นั่นเอง

4.การทำว่าวในลักษณะที่แฝงและเต็มไปด้วยความเชื่อ เครื่องลางของขลัง การบูชา เพื่อสนองตอบแทนคุณ หรือปัดเป่าเคราะห์กรรมต่าง ๆ ตามความเชื่อ อันเป็นกุศโลบาย

5.การทำว่าวมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยมีการออกแบบตกแต่งพิเศษ ทำให้เกิดความสวยงาม เกิดความสะดุดตา แปลกตา และมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม เช่น ว่าวงู หรือว่าวประดิษฐ์อื่น ๆ เป็นต้น

ทั้งนี้ไม่ว่าว่าวจะถูกกำหนดให้ในปัจจุบันจะเป็นเช่นไรนั้น ก็ตาม  ก็ยังคงบังเกิด ความสนุกสนานให้ได้ทุกครั้งที่เล่น อีกทั้งเป็นการออกกำลังกาย หรือสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับครอบครัวได้เป็นอย่างดีอีกด้วย